อาการโคลิค เมื่อได้ยินชื่อนี้แล้วพ่อ
แม่หลายๆ คนอาจจะรู้สึกกังวลเพราะลูกจะมีอาการร้องไห้อย่างรุ่นแรง และร้องติดต่อกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์ แม้อาการนี้จะสามารถหายเองได้เมื่อลูกอายุ 4 – 6 เดือน แต่ต้องดูแลอย่างดีเพราะอาการนี้ส่งผลเสียในระยะยาวต่อทารกและคนรอบข้าง ทั้งด้านสุขภาพจิต ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย คงไม่ดีแน่หากคุณต้องนั่งฟังเสียง
เด็กร้องไห้ นานหลายชั่วโมงติดต่อกันตลอดระยะเวลา 4 เดือน วันนี้เรามีวิธีรับมือง่ายๆ มาฝากกัน
1.ปรึกษาแพทย์ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
โคลิค เป็นอาการที่ไม่สามารถระบุแน่ชัดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร บางรายก็เกิดจากอารมณ์พื้นฐาน อาหารไม่ย่อย ภูมิแพ้ หรืออาจเกิดจากการไม่คุ้นชินกับสภาวะโดยรอบ สิ่งที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์เพื่อได้รับคำแนะนำในการรักษาอาการ
โคลิค และหมั่นสังเกตุอาการของลูกน้อย
2.ให้ลูกน้อยทานนมที่มีโปรไบโอติค
เด็กที่ถูกผ่าคลอด และไม่ได้ดื่มนม
แม่ มักจะมีความผิดปกติในระบบย่อยอาหาร ภาวะ Dysbiosis หรือจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล มีจุลินทรีย์ไม่ดีมากกว่าจุลินทรีย์ชนิดดี ส่งผลให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน ขับถ่ายยาก บางรายท้องเสียบ่อย ทำให้
เด็กร้องไห้หรืออาการโคลิค การรับมืออีกทางนึงก็คือลงทานนมที่มีส่วนผสมของโปรไบโอติค แต่อย่างไรก็แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ก่อนนะ
3.จัดการทุกอย่างให้พร้อมเมื่อถึงเวลา
อาการโคลิคนี้จะมักจะเกิดในช่วงเย็นค่ำ เพราะฉะนั้นแนะนำให้พ่อแม่จัดการทุกอย่างให้เรียบร้อยและพร้อมทำอารมณ์ให้แจ่มใส เพื่อจะได้ดูแลเจ้าตัวเล็กได้เต็มที่ หากลูกร้องไห้อาจจะลองอุ้มพาเดินไปที่สงบๆ ดูนะ
4.สิ่งที่ห้ามทำ เมื่อ ทารกร้องไห้ แบบโคลิค
การร้องไห้ของเด็กแบบนี้อาจจะทำให้แต่ละคนเกิดอาการเครียดได้ ต่อให้อารมณ์เสียแต่ไหนก็ห้ามเขย่าตัวและตะคอกทารกเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงส่งผลต่ออารมณ์ของเด็กในระยะยาว ห้ามปล่อยทารกไว้เพียงลำพัง เพราะเด็กอาจมีอาการอื่นแทรกซ้อน เช่น ชักเกร็ง ตัวเขียว หรือดึงสิ่งของมาปิดปาก ปิดจมูกตนเองจนได้รับอันตรายถึงชีวิต ควรปลอบโยนเด็กโดยทันทีเพื่อที่จะช่วยให้เด็กหยุดร้องไห้เร็วที่สุด
เด็กส่วนมากที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาในการนอนหลับ เป็นภูมิแพ้ มีปัญหาในการขับถ่าย ส่วนมากเป็นผลกระทบจากโคลิคในวัยเด็ก ฉะนั้นพ่อแม่มือใหม่ต้องเตรียมรับมือให้ทันท่วงที ปลอบโยนเด็กโดยทันทีหากเด็กมีอาการร้องไห้ และเมื่อผ่านไป 4 – 6 เดือนอาการเหล่านี้จะหายไปเอง