อาการข้อเข่าเสื่อมหรือ
ข้อเข่าอักเสบ จะพบมากในวัยกลางคนจนไปถึงผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อมีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดการเสียดสีจนสึกกร่อน รู้สึกฝืดที่ข้อเข่า เข่าผิดรูปและทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือทำให้เกิดความยากลำบากและความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่นำไปสู่อาการ
ข้อเข่าอักเสบ และข้อเข่าเสื่อมได้ดังนี้
ปัจจัยที่จะทำให้เกิดเป็นข้อเข่าเสื่อมและ
ข้อเข่าอักเสบ 1.
ข้อเข่าอักเสบ และข้อเข่าเสื่อมเกิดจากพฤติกรรมการใช้
งานข้อเข่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น ใช้งานข้อเข่าอย่างหนักและต่อเนื่อง หรือใช้งานเข่าที่ไม่เหมาะสมเช่น นั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนาน ๆ ทำให้เกิดแรงกดต่อข้อเข่าสูง, นั่งงอเข่านาน ๆ
2.น้ำหนักตัวที่ไม่เหมาะสม ยิ่งน้ำหนักตัวมาก ก็จะมีแรงกดที่ข้อเข่าสูง, โดยเฉพาะเวลานั่งงอเข่ามาก ๆ ดังนั้นผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจึงเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้อเข่าอักเสบและข้อเข่าเสื่อม
3.โครงสร้างพยุงข้อเข่า เช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เสียสภาพไป ซึ่งอาจเป็นได้จากการขาดการบริหาร หรือออกกำลังกายต่อเนื่อง หรือได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ไม่ว่ากระดูกข้อเข่าแตก หรือ เอ็นฉีก
4.ความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโรคประจำตัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น SLE, รูมาตอยด์ หรือโรคเลือดบางชนิด
5.น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้เข่ารับน้ำหนักมากขึ้น เกิดข้อเข่าอักเสบและข้อเข่าเสื่อม
6.อายุที่มากขึ้นทำให้ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของผิวข้อกระดูกอ่อนลดลง ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมและข้อเข่าอักเสบง่ายขึ้น
7.เพศหญิง ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย
8.มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน รวมถึงได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด
ซึ่งแนวทางในการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมและ
ข้อเข่าอักเสบ นั้นก็มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการของผู้เป็นว่าเป็นระดับรุนแรงมากหรือรุนแรงน้อย อย่างถ้าเป็นระดับรุนแรงน้อยก็จะเริ่มจากปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเป็น
ข้อเข่าอักเสบ อย่างลดน้ำหนัก เพราะเมื่อมีน้ำหนักตัวเกินก็จะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักมากและทำให้พัฒนาเป็นเข่าเสื่อมได้ในที่สุด หรือจะเป็นการบริหารข้อเข่า บริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอหรือยืดเหยียดเข่าเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามแข็งแรงจนสามารถช่วยพยุงข้อเข่าได้และเมื่อข้อเข่ามีความยืดหยุ่นสูงก็จะช่วยลดความเจ็บปวดได้ดี และออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่เพิ่มความตึงเครียดให้กับข้อมากเกินไป เช่น วิ่ง หรือเล่นเวท แนะนำให้ว่ายน้ำ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ข้อไม่ต้องรับแรงกดมาก นอกจากนั้น สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยการเดินเร็วหรือปั่นจักรยาน สัปดาห์ละอย่างน้อย 150 นาที นอกจากนี้ก็ยังมีการรักษาด้วยยาต่าง ๆ ที่สามารถระงับความเจ็บปวดได้ และยังมีทางเลือกในการรักษาอีกหลายอย่าง เช่น การฝังเข็ม การใช้ครีมยาเฉพาะที่ เช่น แคปไซซิน เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อเข่าจากเข่าเสื่อม และการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น คอนดรอยติน จะช่วยชะลอการแคบลงของช่องระหว่างข้อและลดอาการเจ็บข้อได้ และวิธีสุดท้ายเป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงใช้การรักษาอื่น ๆ ไม่เป็นผล ก็จะใช้การผ่าตัด โดยการผ่าตัดก็จะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์จะใช้ในการรักษา โดยจะมี 3 รูปแบบ ได้แก่ การผ่าตัดเพื่อให้ผิวข้อเข้ามาชิดกัน (Arthrodesis) ศัลยกรรมเปลี่ยนข้อเข่า (Arthroplasty) หรือการตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy) ดังนั้นควรที่จะต้องดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี ๆ อย่าให้เป็นหนักถึงขั้นผ่าตัดเลยนะคะ