หลักสูตรการศึกษานานาชาติล้ำๆของฝั่งอังกฤษ (UK) ดีอย่างไร ทำไมหลักสูตรการเรียนการสอนของอังกฤษ จึงเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก ข้อมูลของ International School Market Research and Trends พบว่า ในปี 2561 มีโรงเรียนนานาชาติกว่า 3,500 โรงเรียน จากราวหนึ่งหมื่นโรงเรียนทั่วโลก หรือกว่า 30 % ใช้ระบบการเรียนสอนของอังกฤษ ในขณะที่การเรียนการสอนแบบ Bilingual, US และ IBDP ก็เป็นที่นิยมรองลงมาตามลำดับ ยิ่งพ่อ
แม่รู้ข้อมูลมากเท่าไรยิ่งได้เปรียบสำหรับการฟันธงว่าลูกเราจะเหมาะกับหลักสูตรแบบไหน การวางแผนตั้งแต่แรกสามารถการันตีโอกาสในการเข้ามหาวิทยาลัยระดับโลกได้อย่างแน่นอน!
มร. มาร์ค แมคเวย์ (Mr. Mark McVeigh) ครูใหญ่โรงเรียนเด่นหล้า บริติช สคูล (Denla British School - DBS) ซึ่งเป็นโรงเรียนนานาชาติชั้นนำของประเทศไทย ถือเป็นบุคคลที่เข้าใจหลักสูตรการศึกษานานาชาติระบบอังกฤษได้ดีที่สุด มร.แม็คเวย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและมีประสบการณ์การสอนอย่างครอบคลุมและรอบด้านมานานเกือบ 30 ปี ประสบการณ์ทำให้คุณแมคเวย์เชื่อว่า ก่อนที่พ่อ
แม่จะเลือกโรงเรียนให้กับลูก สิ่งสำคัญคือพ่อแม่จะต้องศึกษาทั้งระบบการศึกษา แนวคิดและหลักการ และคุณภาพครูของโรงเรียนนั้นๆ
หลักสูตรนานาชาติอังกฤษ (UK Curriculum)
ลักษณะการเรียนในหลักสูตรนานาชาติอังกฤษ ที่มุ่งเน้นการอิงทักษะของนักเรียนเป็นสำคัญ ทำให้นักเรียนได้คิดและตั้งถามในระดับที่ลึกและเข้มข้นกว่า ซึ่งบ่อยครั้งนำไปสู่การตั้งคำถามเพื่อค้นหาตัวตนของตัวเองและในบริบทของโลก ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงเตรียมพร้อมให้นักเรียนสำหรับการศึกษาในอนาคตที่มีมากกว่าผลการสอบตามรายวิชา
ระบบการเรียนการสอนของอังกฤษเป็นระบบการศึกษาที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานที่สุด ลักษณะเด่นที่สุดของหลักสูตรการศึกษาระบบอังกฤษคือ นักเรียนจะต้องมีความเป็นปัจเจกบุคคล หลักสูตรออกแบบมาเพื่อดึงศักยภาพของเด็กได้อย่างเข้มข้น ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนทั้งหมดจะไปเฉือนกันที่สุดคือตอนเด็กอายุประมาณ 12-14 ปี อยู่ในชั้นมัธยมต้น หรือชั้น Year 9 - 11 เป็นช่วงเวลาที่มีเด็กกำลังเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น เด็กจะเริ่มมีความสับสนในความเป็นตัวเอง พวกเขาอาจจะดื้อรั้นกับพ่อแม่แบบไม่มีเหตุผล ซึ่งคุณครูใหญ่โรงเรียน DBS บอกว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพัฒนาการที่ปกติ นั่นคือเขากำลังเข้ากระบวนการค้นหาตัวเองแล้ว ดังนั้นระบบอังกฤษจึงเกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อม ให้เด็กๆสามารถค้นหาความชอบความสนใจของตนเองและพัฒนาลักษณะนิสัยของตนเอง
การตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพ
ระบบอังกฤษจะให้เด็กเลือกเรียนวิชาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ตอบสนองต่ออาชีพที่หลากหลาย โดยปกติแล้วนักเรียนจะได้เรียน 9-11 วิชาไปจนถึงอายุ 16 ปี ในขณะที่หลักสูตรระบบอื่นนั้นจะให้เรียนวิชาจำนวนน้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่นได้เรียนเพียง 5 วิชาเท่านั้น หลักสูตรระบบอังกฤษจึงเป็นการมอบทางเลือกในการเรียนแก่นักเรียนให้มากเท่าที่จะมากได้
เมื่อเด็กเรียนไป 9 วิชาแล้วมาพบว่า ตัวเองชอบ 4 วิชา ไม่ชอบ 5 วิชา ระบบอังกฤษจะบอกว่า ให้เรียนให้ดีครบ 9 วิชาไปก่อน ผลก็คือเด็กจะรู้ว่าสิ่งที่ตนเองไม่ชอบแต่ทำได้คือวิชาอะไร และสิ่งที่ชอบด้วยและทำได้ด้วยคือวิชาอะไร นอกจากนี้นักเรียนยังจะมีเวลามากขึ้นในการตระหนักว่าความจริงแล้วตนเองนั้นชอบวิชานี้ แม้ว่าตอนแรกจะคิดว่าตัวเองไม่ชอบก็ตาม
เมื่อเรียนไปถึงชั้น A Level ก็คือ Year 13 หรือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาต่างๆที่เด็กจะเรียนนั้นจะน้อยลงไปเลย จะเหลือเพียง 3-4 วิชาเท่านั้น ช่วงนี้เด็กจะรู้แล้วว่าตัวเองชอบอะไรมากที่สุดและตัวเองเก่งในด้านใดมากที่สุดด้วย ดังนั้นการให้เด็กได้โฟกัสสิ่งที่ใช่ที่สุดไปเลยจึงเป็นวิธีที่เหมาะสม คุณแมคเวย์กล่าวว่าสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้นั้น คือ พื้นฐานสำหรับชีวิตนักเรียนในอนาคตในช่วงที่เรียน GCSE ขณะที่เรียน A Level ก็สามารถบอกทิศทางที่นักเรียนจะไปต่อได้ โดยอิงจากความสนใจและความสามารถของนักเรียน ระบบอังกฤษจึงใช้เวลาเรียนมหาวิทยาลัยกันเพียง 3 ปีก็เพียงพอ เพราะได้เรียนอย่างเข้มข้นเจาะลึกมาตั้งแต่ตอนเรียน A Level แล้ว
เด็กจะได้เรียนแบบ Self-Study ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตลอดชีวิต
คุณครูใหญ่โรงเรียน DBS เล่าต่อว่า อีกคอนเซ็ปต์ของหลักสูตรอังกฤษก็คือ จะมุ่งเน้นการเรียนการสอนไปพร้อมกับการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนแบบค้นหาด้วยตัวเอง เมื่อขึ้นชั้น A Level การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างสมดุล การสอนจะน้อยลงและการเรียนด้วยตัวเองจะเพิ่มมากขึ้น นักเรียนจะได้โฟกัสในวิชาที่ตนสนใจมากที่สุดและยิ่งทำให้เด็กต้องใช้ความสนใจของตัวเองจริงๆมากขึ้นในการค้นคว้าข้อมูล ทำราย
งาน ทำโปรเจ็คต่างๆ ข้อดีที่สุดคือ เด็กที่ผ่านการเรียนลักษณะนี้ จะปรับตัวได้ทันทีและคล่องแคล่วมากเมื่อก้าวสู่การเรียนระดับมหาวิทยาลัย เพราะการเรียนด้วยตัวเองเป็นรากฐานที่สำคัญของการเรียนในทุกๆมหาวิทยาลัย เมื่อนักเรียนโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ประกอบอาชีพการงานและเมื่อถึงเวลาที่พวกเขาต้องเปลี่ยนอาชีพ พวกเขาก็สามารถใช้การเรียนรู้ด้วยตนเองที่ฝึกฝนมา และเปลี่ยนอาชีพของตนเองได้อย่างง่ายดาย ทักษะนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ เด็กที่เรียนในระบบอังกฤษ เมื่อฝึกฝนตัวเองกับการเรียนรู้แบบ Self-Study มา เด็กก็จะมีทักษะเรื่องนี้แน่น ไม่ว่าจะทำอะไร พวกเขาก็จะทำด้วยความรัก ส่งผลให้งานออกมาสำเร็จลุล่วงด้วยดี เหมือนกับที่คุณแมคเวย์ได้สรุปไว้ว่า “การเรียนรู้ที่ยั่งยืนที่สุดคือการเรียนรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง”