Social media tool
สวัสดีครับ ผมคิดว่าผู้เข้ามาอ่าน Website ของผมคงใช้ Social media กันหมดทุกคน และ 70% เป็น Social media management Team ที่มีความวุ่นวายในการจัดการช่องทาง Social ต่างๆ ทั้ง Facebook Page, Facebook Ad, Google Ad network หรือแม้กระทั่งจัดการMention, Hashtag ต่างๆใน Twitter
วันนี้ผมจะขอนำเครื่องมือสำหรับจัดการ Social Media ต่างๆมาแบ่ง Featureการทำงาน และวิธีนำไปใช้ประโยชน์ตามประสบการณ์ของผมเอง ทั้งที่เคยใช้จริง หรือเคยพูดคุยกับ Tools เหล่านี้ ไม่ว่าจะของไทยหรือของต่างประเทศ ผมแบ่งให้เพื่อนๆเห็นภาพตามนี้ครับ
1. Social media channels management
2. Influencer Marketing
3. Social Ads : Management & Optimization
4. Social Media Monitoring & Listening
* หมายเหตุ Social analytic อยู่ในทุกหมวดหมู่ครับ
1. Social media channels management เป็นเครื่องมือที่เน้นการดูแล Social ช่องทางต่างๆได้แก่
Manage channels
– การจัดการโพสต่างๆในทุกช่องทางทั้ง Artwork และ content
– การตั้ง Schedule Post ล่วงหน้า
(ตัวอย่างจาก hootsuite)
Social media tool schedule
Follower Analysis
– การวิเคราะห์ข้อมูลของ Follower/Fan ในด้าน demographics, location, purchase intent เป็นต้น
Analyzes and illustrates follower information such as demographics, location, purchase intent, etc.
(ตัวอย่างจาก zoho social)
Social media tool post insight
Content Engagement
– การ Track จำนวน Engagement (views, likes, favorites, retweets, comments) ในแต่ละ Content
– การ Highlight หา content ที่เหมาะสมกับกลุ่ม target audience.
ManageCampaigns
– การหา Trend ของ sentiment ต่างๆ เพื่อกำหนดทิศทาง campaign ต่อๆไป
Internationalization
– การ Support การโพสแบบ Multi-languages
Customizable Report
– การเปิดให้ User แต่ละคนสามารถ Custom report ได้ตาม Role งาน
– ความสามารถในการ Drill down ในแต่ละ Data set
(ตัวอย่างจาก sprout social)
Social media tool audience
2. Influencer Marketing การจัดการกับผู้ที่มีอิทธิพลกับ Brand ของเรา ได้แก่
Influencer Recruitment
– การจัดหา Influencer ใหม่ๆผ่านทาง marketplace
– การ Bulk Import รายชื่อ Influencer เข้าไปในระบบเพื่อ Track Performance
– การจัดทำ digital profiles ของ Influencer แต่ละคนเก็บไว้
( ตัวอย่างการ Influencer marketplaceจาก Buzzsumo )
Social media tool influencer marketing
Influencer Scoring
– การใช้ algorithm เพื่อให้
คะแนน influencers ในด้านต่างๆเพื่อ Target ที่ถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย
( ตัวอย่างจาก Dovetale )
Social media tool scoring
Influencer’s Audience Analysis
– การวิเคราะห์ audience ของ influencer นั้นๆในด้าน demographic และ psychographic character
Collaboration
– การร่วมมือกันทำแคมเปญผ่าน Tool ที่ช่วยให้ influencer กับ Brand ติดตาม Progress งานได้ตลอด
Reporting and Dashboards
– influencer แต่ละคนสามารถเข้ามาดูCampaign performance ได้ตลอดแบบโปร่งใส โดยแต่ละคนสามารถกำหนดKey Metric การวัดผลได้ไม่เหมือนกัน
Referral Program & Incentives
– รองรับการตลาดแบบ Performance-Base marketing ได้
– มีระบบ Referal สำหรับจ่ายผลตอบแทนให้ influencer ตามประสิทธิภาพ (ผลตอบแทนอาจจะเป็นตัวเงินหรือ Reward อื่นๆก็ได้)
– สามารถให้ Incentive ได้หลายรุปแบบเช่น Pay per click, Pay per Lead (Web registrator), Revenue sharing
( ตัวอย่าง Incentive payout จาก Hasoffer )
Social media tool report conversion
3. Social Ads : Management & Optimization การจัดการ Ad โฆษณาต่างๆ ได้แก่
Ad Biding
– สามารถ Bid ad ผ่านระบบได้
– ตั้ง Cost ต่างๆได้แบบ จำนวนต่ำและสุงสุดที่เรายอมจ่ายค่า Ad (Min-Max )ตาม Conversion ต่างๆ
( ตัวอย่างการ Bidding จาก WordStream)
Social media tool ad bidding
Ad Creation and Editing
– สามารถสร้าง Creative ได้หลากหลายรูปแบบ
– สามารถ Dynamic ข้อความหรือ Personalize รูปแบบได้ตาม Target
– สามารถส่ง Add ออกไปได้หลาย Platform
– สามารถทำ Split testing เพื่อหา Creartive/Content ที่ Ad ทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด
Ad and Conversion Tracking
– สามารถ Track การเข้ามาของ User ได้รายละเอียดทั้ง Paid, Organic ได้แบบ End-to-End (convert to
Budget Execution & Monitoring
– การ Allocate budget ในระบบเพื่อวางแผนแคมเปญ
– การดู Efficiency ของ Ad ต่างๆเพื่อการโยก Budget ไปหา Ad ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว
( ตัวอย่างจาก Marin Software)
Social media tool ai optimization
Workflow Capability
– สามารถ set step การทำงานของทีมที่เกี่ยวข้องในระบบทั้ง Creative, Content, Marketer ได้
Competitor Analysis
– เก็บข้อมูลของคู่แข่งในตลาดมาเพื่อเปรียบเทียบ Performance หรือหา benchmark
Targeting
– Retargeting ส่ง AD หา user ที่เคยดูข้อมูลใน website (คล้ายๆ Facebook Pixel)
– Geo-Targeting ส่ง AD หา user ตาม Geo-location
– Contextual Targeting สามารถ ส่ง AD หา user ตามความสนใจหรือ Context ได้ (2เดือนก่อน Pinterest แจ้งว่ากำลัง Launch Feature นี้)
4. Social Media Monitoring & Listening คือเครื่องมือที่ใช้การกวาดหา Sentiment หรือฟังเสียงของ User ต่างๆใน Social media เพื่อนำมาใช้ในประโยชน์ดังนี้
Sentiment Scoring
– ตรวจหา mention ที่พูดถึง brand ของเราทั้งหมดที่เป็น positive, negative และ neutral
(ตัวอย่างจาก brandwatch-analytics)
Social media tool sentiment analysis
Geo-location
– ตรวจหา mention ที่พูดถึง brand ของเราทั้งหมดตาม geo-location
Social Measurement
– วัดผลแคมเปญ, brand, หรือสินค้าในแง่ของปริมาณ เช่นจำนวน conversation
– วัดผล share of voice ในรอบการวัดต่างๆ
Keyword Setup
– สามารถเพิ่มลด keyword ที่ตรวจจับได้ ทั้งแบบ Manual โดยผู้ดูแลระบบ และใช้ Machine learning ทำงาน ( ตัวอย่าง keyword “ดีมาก+brand”,”ห่วย+brand”)
( ตัวอย่างการเพิ่มลด Keyword จาก mentionlytics)
Social listening tool
Competitive Intelligence
-เปรียบเทียบประสิทธิภาพ Social media ของคู่แข่งใน metric ต่างๆ
Gain Deep Insight From Social Data
-วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจาก Data เพื่อดู trend ของตลาด หรือเพื่อดู Brand awareness ในตลาด
( ตัวอย่างจาก hootsuite )
Gain Deep Insight From Social Data
Analyze Sentiment for Qualitative Insights
– สามารถนำข้อมูลต่างๆมาเชื่อมโยงกันเพื่อหาความสัมพันธ์ได้ เช่น hashtags, sentiment และ geolocations
Integrate with CRM data
– เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลลูกค้า Potential, ลูกค้าเก่า เพื่อสร้างประสบการณ์ (Customer Exprerience) ให้เหมาะสมในแต่ละ segmentation ได้
( ตัวอย่างการทำ Lookalike จาก Salesforce Social Studio )
Credit :
https://www.martechthai.com/technology/social-monitoring-listening-tool/