สำหรับ “พ่อฟ้า-นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.)ที่แม้จะสามารถลบคำปรามาสนำ อนค. กวาดที่นั่ง ส.ส.ในระบบเขตและปาร์ตี้ลิสต์นำโด่งมาเป็นอันดับ 3 โค่นพรรคเก่าแก่ที่เป็นสัญลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตยอย่างพรรคประชาธิปัตย์ขาดลอย แถมการก่อกำเนิดของอนาคตใหม่ใน กทม. ยังส่งผลให้ ปชป. ถึงกับ “สูญพันธุ์” ไปเลยนั้น
แต่หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็น “แคนดิเดทนายกฯ” อีกคน กลับต้องเผชิญมรสุมจนสุดจะบรรยาย ทั้งกรณีที่ถูกคณะกรรมการการ
เลือกตั้ง (กกต.) ยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ถอดถอน และอาจตามมาด้วยการยุบพรรคจากปมการถือหุ้นสื่อที่แม้จะปิดตัวเองลงไป และเจ้าตัวก็ยืนยันว่าได้ขายและโอนหุ้นในมือฝาก
แม่ฝากและน้องสาวไปหมดแล้ว
แต่หลักฐานการจดแจ้งที่กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ กลับขัดแย้งในตัวเอง กลายเป็นปมเขื่องที่ทำให้ถูก กกต.ยื่นเรื่องต่อศาลให้พิจารณาปมขาดคุณสมบัติ แถมยังเป็นเพียงกรณีเดียวที่ กกต.หมายหัว
วิบากกรรม และ “วีรกรรม” ของ ”พ่อฟ้า-นายธนาธร” ยังไม่หมดแค่นี้ ล่าสุดเมื่อเจ้าตัวลงพื้นที่สำรวจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงในจังหวัดสมุทรสาคร ก็ได้โชว์วิสัยทัศน์จวกมาตรการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการราย
งานและไร้การควบคุมของรัฐบาลที่ดำเนินไปก่อนหน้าตามกรอบที่สหภาพยุโรป (อียู) ขีดเส้นเอาไว้ หลังจากที่ประเทศไทยถูกขึ้นบัญชีดำ Lift Yellow Card ถูกกล่าวหาว่าทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing) มาตั้งแต่เมษายนปี 2558
แม้รัฐบาล คสช. จะใช้ความพยายามและมาตรการมาตรการอันเข้มงวดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตลอดช่วง 4 ปีจนสามารถ “ปลดล็อก” ใบเหลืองไอยูยูลงไปได้ ซึ่งน่าจะถือเป็นผลงานชิ้น “โบว์แดง” ของประเทศ
แต่ในมุมมองพ่อฟ้าก็กลับมองว่า การที่รัฐไปรับเงื่อนไขแก้ปัญหาประมงอย่างเข้มงวด ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมงและแรงงานประมงอย่างหนัก ทำให้ชาวประมงสูญเสียรายได้และเสียโอกาสในการประกอบอาชีพอย่างมาก
จนกลายเป็นปมดราม่า เมื่อหลายฝ่ายออกมาสัพยอกพ่อฟ้าต่อกรณีดังกล่าวว่า น่าจะให้ความจริงแค่ครึ่งเดียว
ย้อนรอยปัญหา หมักหมม” ประมงไทย หากย้อนรอยกลับไปดูปัญหาประมงไทยที่สหภาพยุโรปขึ้นบัญชีดำแจกใบเหลือง “ไอยูยู” เมื่อ 4-5 ปีก่อนนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้ไทยจะมีการส่งออกสินค้าประมงมูลค่ากว่า 110,000 ล้านบาทต่อปี แต่สภาพสัตว์น้ำและทรัพยากรทางทะเลของไทยต่างอยู่ในภาวะวิกฤติ
ด้วยปริมาณเรือทำประมงของไทยนั้นมีมากเกินสมดุล ยังผลให้เกิดการทำประมงผิดกฎหมายสารพัดรูปแบบ มีการใช้เครื่องมือจับปลาที่ขาดมาตรฐาน จับแหลกแม้ปลาเล็กปลาน้อย แม้แต่สัตว์น้ำหวงห้ามก็ไม่เว้นจนกลายเป็นปัญหาดินพอกหางหมู และไทยถูกขึ้นบัญชีดำเป็นประเทศที่ทำประมงอย่างผิดกฎหมาย ก่อนที่สหภาพยุโรปจะงัด ”ใบเหลือง” ขึ้นบัญชีดำเพื่อสั่งให้ประเทศไทยดำเนินการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายเหล่านั้นภายในระยะ 6 เดือน
หลังไทยถูกอียูแจกใบเหลือง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้หยิบยกกรณีดังกล่าวเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 10/2558 เพื่อจัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.)” ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
มีการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านกฎหมาย มีการยกร่างแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงอาทิ พ.ร.บ.การประมง (ฉบับที่2) พ.ศ.2560
กำหนดมาตรการ ควบคุม เฝ้าระวัง ทั้งเรือประมงในน่านน้ำและนอกน่านน้ำ การแจ้งเข้า-ออกของศูนย์ PIPO การติดระบบติดตามเรือ (VMS) รวมไปถึงการจัดระเบียบท่าเทียบเรือ
การจัดตั้งศูนย์ควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง(FMC) ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) 32 ศูนย์
จัดตั้งจุดตรวจเรือประมงส่วนหน้า (FIP) 19 ศูนย์ เพื่อเข้าไปสนับสนุนและประเมินผลการปฏิบัติ การติดระบบติดตามเรือประมง (VMS)
ปัจจุบันมีผลบังคับให้เรือประมงพาณิชย์ (30 ตันกรอสขึ้นไป) และเรือสนับสนุนต่าง ๆ ต้องติด VMS การออกกฎหมายควบคุม การจดทะเบียนเรือ กำหนดมาตรการควบคุมเฝ้าระวัง เครื่องไม้เครื่องมือทำการประมง จดแจ้งแรงงานประมง ขึ้นทะเบียนแรงงานประมงทั้งไทยและต่างประเทศ และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงอย่างเข้มข้นห้ามเรือที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนออกจับปลา ซื้อเรือประมงที่ไม่ได้มาตรฐานคืนจากประชาชน
หาไม่แล้วจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ที่เป็นปัจจัยหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
4 ปีแห่งการรอคอย ความพยายามของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาประมงไอยูยูข้างต้นนั้นสัมฤทธิ์ผลเอาเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 เมื่อสหภาพยุโรป(อียู) ได้ประกาศ “ปลดล็อค” ใบเหลืองไอยูยูประเทศไทยอันเป็นการ "การันตี" ความพยายามถึง 4 ปี ในการยกระดับประมงไทยสู่สากล
และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาทำประมงผิดกฎหมายมาโดยตลอด ทั้งการออกกรอบกฎหมาย การบริหารจัดการประมง การบริหารจัดการกองเรือ การติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง การตรวจสอบย้อนกลับ และการบังคับใช้กฎหมาย
อ่านเพิ่มเติม : http://www.natethip.com/news.php?id=472