การรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังจะทำให้คนไทยทั้งประเทศได้รอเก้ออีกครั้ง ... กับความฝันว่า "ไทยกำลังจะมีรถไฟความเร็วสูงสายแรก"
จากกรณีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562
รักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังเปิดซอง 4 และ พิจารณาข้อเสนอพิเศษของกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตรว่า ทางกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรยื่นข้อเสนอพิเศษทั้งหมด 11 ข้อ โดยทางคณะกรรมการคัดเลือกประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา รับข้อเสนอได้เพียง 3 ข้อ เนื่องจากเป็นไปตามหลักการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ ส่วนอีก 8 ข้อ ไม่เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ ทำให้ต้องมีการเจรจาเพิ่มเติมอีก ทำให้อาจจะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเซ็นสัญญาภายในวันที่ 31 มกราคม 2562 ตามกำหนดเดิมที่ได้ตั้งไว้ไม่ทัน และก็คงต้องเลื่อนการประกาศ และการก่อสร้างออกไปอย่างไม่มีกำหนด
หากใครได้ตามข่าวเรื่องการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเส้นนี้ จะพบว่า เงื่อนไขที่อยู่ในเอกสารเชิญชวนเอกชน ระบุไว้ว่า
หากมีการระบุรายละเอียดเช่นนี้ ก็ย่อมหมายความว่า
ซองที่ 4 จะไม่มีผลต่อการตัดสินผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้ ก็เหลือเพียงแต่ว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงการเจรจาต่อรองได้เมื่อไหร่ ก็จะสามารถประกาศผู้ชนะการคัดเลือกได้ทันที
หรือว่าทางซีพี จะเสนออะไรไม่เข้าตาคณะกรรมการของการรถไฟฯ หรือเปล่า จากข้อเสนอทั้ง 11 ข้อในซองที่ 4 ผ่านเพียง 3 ข้อ ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพให้โครงการ หรือซีพีจะแอบเอาข้อเสนอพิเศษอะไรมายัดไว้ จนถึงขั้นที่รฟท. ไม่สามารถตัดสินใจได้เลยเชียวหรือ
ข้อมูลหลุดออกมา 1 ข้อที่น่าสนใจก็คือ
ซีพีขอขยายไฮสปีดถึงระยอง แถมข้อมูลรายละเอียดในการประมูลโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน (Public Private Partnership) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "PPP" นั้น ข้อมูล และรายละเอียดต่างๆ ของผู้เข้าร่วมประมูลก็ไม่ควรจะมีการแพ่งพราย หลุดออกมาสู่สาธารณะ หรือที่เข้าใจว่าเป็นช่วง Silent Period กำลังจะเป็นแบบทดสอบสำคัญของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้จัดการประมูลครั้งนี้อีกครั้ง ทุกครั้งที่มีการประชุม ข้อมูลลับจากในห้องประชุมก็มักจะหลุดออกมาถึงหูนักข่าวทุกครั้ง แถมหาคนปล่อยข่าวก็ไม่เคยได้
ก่อนหน้านี้ก็ เร่งหาตัวคนปล่อยข่าวมั่วประมูล “ไฮสปีดเทรน” ข้อมูลมั่วหลุดมาครั้งล่ะ ก็ยังหาคนปล่อยข่าวไม่ได้ คราวนี้ก็ยังมีข้อมูลการพิจารณาเงื่อนไขในการประมูลหลุดออกมาอีก ซึ่งถือว่าเป็นความผิดทางอาญา และยังผิดเงื่อนไข TOR ด้วย
หากเป็นการทำธุรกิจ เมื่อยังไม่จบการเจรจา ผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายยังมีโอกาสเป็นผู้ชนะ รวมทั้งเป็นมารยาทของคณะกรรมการผู้พิจารณาในการที่จะปกปิดเงื่อนไขของผู้ประมูล
ซึ่
งานนี้ก็คงต้องดูกันต่อไปยาวๆ ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกของรัฐบาล ที่กำลังขับเคลื่อนกลไกที่เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่สำคัญอย่างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่มีนักวิชาการหลายท่านเคยกล่าวไว้ว่า " เป็นกระดูกสันหลังที่สำคัญของ EEC "
หากโครงการนี้ไม่เกิด แล้วโครงการอื่นๆ ในอีอีซี จะเป็นเช่นไร
หมายเหตุ คนไทยอย่างพวกเราก็ได้แค่เฝ้าดูว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งควรจะเป็นงานหลักของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพลังงาน การสื่อสาร หรือการคมนาคม แต่รัฐบาลกลับไม่เคยลงมือทำเองเลย ต้องให้เอกชนเข้ามารับความเสี่ยงแทน
หรือว่า รัฐบาลกำลังกลัว เลยไม่กล้าที่จะเสี่ยง เพราะไม่สามารถยืนยันโครงการได้เลยว่า จะเจ๊งหรือไม่เจ๊ง และคงไม่มีรัฐบาลไหนอยากจะเอากระดูกมาแขวนคอ เพราะเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล โครงการอีอีซีนี้ก็อาจจะถูกดอง หรือถึงขั้นที่ถูกยกเลิกไปเลยก็ได้
เพราะลงทุนในรัฐบาลนี้ กว่าจะออกดอก แตกผลก็ต้องรออย่างน้อยอีก 5 ปี 10 ปี เมื่อถึงตอนนั้นจะมีใครการันตีได้ว่าพรรคไหนจะได้เป็นรัฐบาล
เอวัง ... ก็มีด้วยประการฉะนี้ ... แล !!