วันนี้เรามีแนวคิดง่ายๆ ในการวิเคราะห์หุ้น มาฝากเพื่อนนักลงทุนกัน ไปติดตามกันเลยครับ
วิเคราะห์หุ้นโดยดูจากข้อมูลในอดีต ในส่วนนี้เราจะเน้นดูในอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ดูดีหรือไม่ เช่น ดูค่า PE ROE ROA D/E เป็นต้น ซึ่งอัตราส่วนทางการเงินพวกนี้จะเป็นตัวบอกผลงานของตัวหุ้น ผลงานของตัวบริษัทในอดีตว่ามีการดำเนินงานมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หรือเติบโตมาตลอดหรือไม่
วิเคราะห์หุ้นโดยดูจากข้อมูลในปัจจุบัน ส่วนนี้จะเป็นการดูงบการเงิน ว่ามีเงินสดอยู่เท่าไหร่ มีหนี้สินเท่าไหร่ เป็นต้น
ข้อมูลตัวนี้จะมีประโยชน์ในการสร้างความมั่นใจให้เราว่า หุ้นของบริษัทนี้ ตัวบริษัทนี้มีความแข่งแกร่งเพียงใด มีความพร้อมต่อการลงทุนเพิ่ม หรือการขยายโครงการในอนาคตของบริษัท
วิเคราะห์หุ้นโดยดูแนวโน้มในอนาคต อันนี้จะเน้นไปที่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และดูแนวโน้มตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งมันจะบอกได้ว่า บริษัทที่เราสนใจนั้นจัดอยู่ในประเภทไหน โตช้า ปานกลางหรือโตเร็วและการดูแนวโน้มตลาดนั้น เราก็ลองวิเคราะห์หาข้อมูลดูว่า ตลาดในธุรกิจที่บริษัทที่เราสนใจจะลงทุน มีแนวโน้มเติบโตไปเรื่อยๆหรือไม่ ถ้าตลาดมีแนวโน้มโตได้อีก แบบนี้ หุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดนั้นๆ ก็น่าจะสามารถโตได้ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น เราต้องดูว่าเป็นไปในแนวทางไหน จากนั้น เราก็ดูว่าบริษัทออกแบบธุรกิจ เพื่อรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคหรือไม่
อย่า อย่า อย่าลงทุนเพราะเชื่อคำบอกของนักลงทุนคนอื่น ทำไมล่ะ หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมเราถึงไม่ศึกษากรณีตัวอย่างจากนักลงทุนท่านอื่น การอยู่ในตลาดหุ้นไม่สามารถเชื่อคนอื่นมาก ๆ เพราะเราจะไม่รู้ว่าเขาคิดจะทำอะไร ในวงการหุ้นเวลาเขาจะปั่นหุ้นสร้างราคา บางทีบางครั้งจะส่งคนมานั่งตามห้องค้า แล้วสร้างกระแสกระจายข่าวในห้องค้า สร้างข่าวต่าง ๆ ออกมา หากใครเชื่อตามก็จะหลงเป็นเหยื่อพวกขบวนการนี้ โปรดระวังไว้สำหรับท่านทั้งหลาย แต่เหตุการณ์เหล่านี้จะไม่เกิดกับทีมงานคุณภาพของ เอเชีย พลัส อย่างแน่นอน เนื่องจากเราเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นอันดับต้นๆของเมืองไทย
หลายครั้งที่เพื่อนผมมักถามผมเกี่ยวกับหุ้นและการลงทุน เพราะพวกเขามีความสนใจแต่ก็ยังไม่ได้กล้าลงทุนจริงจัง บางคนอาจบอกว่ายังมีเงินเก็บไม่พอ ยังมีความรู้ไม่มากพอขี้เกียจหาความรู้ใหม่ และ เหตุผลต่างๆนานา ผมจะบอกว่าการลงทุนก่อนมันดีอย่างไง คนที่เริ่มก่อนมีเวลาให้ทดลองก่อนครับ ผมจะเชื่อเสมอว่าทุกคนเรียนรู้ได้หมดครับทั้งจากการอ่านหรือลงมือทำ แต่การจะทำอะไรสักอย่างให้ดีเยี่ยมก็ต้องมีเวลาทดลองบ้าง ต้องมีการสะสมความรู้ประสบการณ์ถ้าคุณไม่เริ่มตอนนี้แล้วรอเวลาให้เกษียณก่อน อาจจะมีปัญหาก็ได้ เช่นคุณอาจจะจำเป็นต้องใช้เงินในชีวิตประจำวันต่างๆอีกแต่หากคุณเริ่มตอนนี้ค่อยๆลงทุน พอถึงตอนนั้นคุณอาจจะประสบความสำเร็จและสามารถมีกำไรมากมายในบั้นปลายของชีวิตก็ได้ เพราะฉะนั้นลงทุนตอนนี้เถอะครับ ผมขอสรุปเลยแล้วกันนะครับ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของชีวิตท่านเอง ท่านควรจะเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่ตอนนี้ และถ้าจะลงทุนแล้ว ผมว่าคุณควรศึกษาจริงจังในการลงทุนให้ดีไปเลย พยายามอย่าไปลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง อาจะเกิดความผิดพลาดได้ เพราะอย่างที่เราได้บอกกับท่านเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการตัดสินใจ หรือหากท่านมีข้อสงสัยหรืออยากจะทราบข้อมูลอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวการลงทุน สามารถขอคำปรึกษาจากเรา ทีมงานเอเชียพลัสยินดีให้ปรึกษาเสมอครับ โทรมาเลยนะครับ 02-680-1000
สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงข้อดีข้อเสียของกองทุนจ่ายปันผลก่อนว่าผู้ลงทุนนั้นมีประโยชน์อย่างไร
1 มีผลตอบแทนเป็นเงินปันผล ตามแต่ละนโยบายของกองทุน เช่น บางกองทุนกำหนดว่า ปันผลไม่เกินปีละ 12 ครั้ง หรือ บางกองทุนกำหนดปันผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2 ต้องจ่ายภาษี 10% เมื่อมีการจ่ายปันผลทุกครั้ง รายรับที่ได้จะโดยหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% (จริงๆสามารถเลือกให้ไม่หักภาษีทันทีได้ แต่ลุงนกฮุกแนะนำว่าให้หักภาษีไปเลยจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องมาวุ่นวายในการเสียภาษีภายหลัง)
3 กองทุนไม่ค่อยมีความเติบโต เพราะเมื่อมีการปันผลก็ต้องไปหักออกจากค่า NAV เช่น ถ้ามีการปันผล 0.20 ต่อหน่วย หากค่า NAV อยู่ที่ 13.2000 เมื่อมีการจ่ายปันผลค่า NAV จะตกไปที่ 13 บาทต่อหน่วยทันที ดังนั้นถ้ากองทุนไหนขยันจ่ายเงินปันผล จะพบว่าค่า NAV จะไม่สูงนัก
4 ลดความเสี่ยงขณะที่ตลาดหุ้นตกหนัก เนื่องจากได้รับเงินปันผลมาบางส่วนแล้ว เช่นกองทุน KFSDIV ในช่วงปี ต้นปี 2012 ถึงกลางปี 2013 ค่า NAV สูงถึง 17.27 บาทต่อหน่วย และมีค่าเฉลี่ยในช่วงดังกล่าวสูงกว่า 15 บาทต่อหน่วยลงทุน และปลายปี 2013 ค่าNAV ก็ลดมาถึง 12 บาทต่อหน่วย จนปี 2014 ตลอดทั้งปี ค่าNAV กลับมาเฉลี่ยที่ 13 บาท ต่อหน่วยลงทุน และได้มีการลดลงอย่างน่าตกใจในช่วงปี 2015 จนมีราคาต่ำสุดที่ 9.5 บาทต่อหน่วยลงทุน แต่ตลอด 4 ปี (2012 – 2015) กองทุนมีการจ่ายปันผลถึง 16 ครั้ง (7.75 บาทต่อหน่วยลงทุน) แน่นอนแม้ว่าค่า NAV จะตกต่ำลงแต่การจ่ายปันผลก็สามารถทดแทนความปันผวนของค่า NAV ได้ ดังนั้นกองทุนจ่ายปันผลจึงช่วยลดความเสี่ยงในภาวะตลาดหุ้นตกต่ำได้เป็นอย่างดี
5 เงินปันผลเป็นกับดักสำหรับนักลงทุน ที่ไม่สนใจและติดตามความเป็นไปของตลาดหุ้น เพราะบางกองทุนไม่สามารถทำกำไรได้ตามนโยบาย แต่ก็ยังปันผลออกมาโดยใช้เงินต้นทุนแทนเงินกำไร ทำให้ค่า NAV ลดลงไปเรื่อยๆ (เป็นการลดลงที่ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ลดลงเพราะมีการนำเงินต้นทุนมาจ่ายปันผลแทน) อันนี้ก็จะน่ากลัวมาก ถ้าผู้ลงทุนไม่สนใจและติดตามดูผลประกอบการของกองทุนที่ลงทุนไป
CR. ลุงนกฮูก (กรัณย์ รุ่งทวีสิน)
CR.Stocktipdd
#AsiaPlus #ASPTips #Stocktips #StockMarket#หุ้น #หลักทรัพย์ #ลงทุน