มีเรื่องให้คิด...แถมชวนสงสัยของวิสัยทัศน์ของเจ้าสัวศุภชัยกับการรับไม้ต่อจากพ่อ คือ เจ้าสัวธนินทร์ เจียรวนนท์ ที่ได้มาป่าวประกาศ กับยุทธศาสตร์
ซีพี 3+2 อ่านได้จาก ( “ศุภชัย”เปิด‘ยุทธศาสตร์ซีพี 3+2 http://www.komchadluek.net/news/scoop/275740 ) กับการเปิดหน้า ซีพี โฉมใหม่ จะไปทิศทางไหน นั้น หรือ จะไปตาม thailand 4.0 ของรัฐบาลลุงตู่ ให้ทันกับกระแสโลกในตอนนี้หรือป่าว เออแล้วจะอยากรู้ไปทำไม แต่อยากจะถามกลับว่า คุณ!! ไม่อยากรู้หรา ว่า ซีพีกำลังคิดอะไรอยู่ ฉะนั้น เราลองมาแยกย่อย กับ ยุทธศาสตร์ ซีพี 3+2 กันค่ะ
จากปาก เจ้าสัวศุภชัยบอกว่า "ยุทธศาสตร์ ซีพี 3+2” มันจะประกอบด้วย 1.โลจิสติกส์ 2.คลาวด์เทคโนโลยี และโรโบติก 3.ไบโอเทคโนโลยี และไบโอฟู้ด โดยมาเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนของเติบโต 2 ด้าน คือ Organic Growth หรือ โดยธรรมชาติด้วยกำลังของบริษัทเอง และการเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Growth คุณคิดว่า คนทั่วไปจะเข้าใจไหม...เรื่องใหม่แบบนี้ ขอตอบว่า "ไม่ค่ะ"
เพื่อความเข้าใจในแผนของ "ซีพี" เราจะแยก "ยุทธศาสตร์" ซีพี 3+2" ออกมาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป้าหมายที่จะมุ่ง 1. โลจิสติกส์ 2.คลาวด์เทคโนโลยี 3.ไบโอเทคโนโลยี และ ไบโอฟู้ด และ กลุ่มที่ 2 ทิศทางขับเคลื่อน จะเน้นด้าน Organic Growth และ Sustainable Growth ตามรายละเอียด ด้านล่าง เพื่อข้าใจกันง่ายขึ้น ดังนี้
ด้านเป้าหมายและสิ่งที่เจ้าสัวน้อย "ศุภชัย" ต้องการ คือ
-
พัฒนาโลจิสติกส์ ความหมายของ โลจิสติกส์ ใครๆก็รู้ มันมีความผูกพันกับเรื่องขนส่ง แต่เป้าหมายของ ซีพี อาจใหญ่กว่านั้น คือ บูรณาการระบบการขนส่งขององค์กรให้ถึงมือคู่ค้า ผู้บริโภคได้อย่างทั่งถึง มีความเป็นไปได้ที่จะนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้กับระบบการขนส่งเข้ามาในอนาคตได้
-
สร้าง Cloud Technology และ Robotic มันคือ การเชื่อมโยง computer / Hardware / Software / นำ Robotic (ระบบหุ่นยนต์) ให้ทำ
งานร่วมกันหรือสั่งการทำงานได้ผ่านทาง อินเตอร์เน็ต เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ หุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
-สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีไบโอเทคโนโลยี และ ไบโอฟู้ด คือ เอาเทคโนโลยีความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้หลายๆ ส่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์ เช่น สิ่งมีชีวิต หรือ ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น การผลิตหรือทางกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ ให้เกิดประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการกลายเป็นนวัตกรรม (Innovation) สามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น เช่น ไข่ไก่โอเมก้า หรือ กุ้งกุลาโอเมก้า หรือ กลุ่มอาหารเสริมต่างๆ เป็นต้น
ฟันเฟื่องขับเคลื่อนที่จะดึง 3 เป้าหมาย เดินไปด้วยกัน นั้น โดย"ซีพี" มีลักษณะขยายตัวแบบไหน ตามที่เจ้าสัวศุภชัยเล่า ขอไปตามทิศทางแบบ “Organic Growth” และ Sustainable Growth แล้ว 2 คำนี้ มันคืออะไร
-Organic Growth ไม่ได้หมายถึงเกษตรปลอดอินทรีย์ แต่เป็นการเปรียบเปรยถึงการเติบโตที่เกิดขึ้นได้ด้วยกำลังของบริษัทเอง ผ่านการขายสินค้าหรือบริการของบริษัทให้แก่ลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ แบบ “ตามธรรมชาติ” เช่น สร้างยอดขาย ขยายฐานลูกค้า หรือเพิ่มผลผลิตของบริษัท จะเป็นการเติบโตที่เร็วกว่าการเติบโตของขนาดตลาด ด้านเสริมสร้างความสามารถหลัก (core competency) ที่โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง ทำให้เราชิงส่วนแบ่งการตลาดได้มากขึ้น เพื่อป้องกันแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้ในอนาคต
-
Sustainable Growth คือ การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เช่น ด้านนวัตกรรม (Innovation) และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) เรียกย่อๆ ว่า CG หรือ ธรรมาภิบาล ทำให้เกิดความร่วมมือสนับสนุน อยากซื้อ อยากขาย อยากใช้บริการ อยากทำงาน เกิดความภักดีต่อองค์กร ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กิจการดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
จริงๆ แล้วทั้งสองอย่างที่ว่านี้ นำมาประยุกต์ใช้ได้กับแทบจะทุกอย่าง นอกเหนือจากเรื่องของการทำงานหรือการทำธุรกิจแล้ว เพราะทุกสิ่งล้วนต้องการ การเติบโต การพัฒนา การก้าวไปข้างหน้าเหมือนๆ กัน คงไม่มีใครอยากย่ำอยู่กับที่หรือมีชีวิตวนเวียนซ้ำซาก อยากโตอยากเปลี่ยน ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด หาอะไรใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ให้กับชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกันมันก็ต้องเป็นวิธีการหรือวิถีชีวิตที่ดีด้วย อย่างนี้เป็นต้น เป็นการเติบโตอันเนื่องจากมีรากฐานในการคิด การแก้ปัญหาและทรัพยากรที่ดี และเรียกได้เต็มปากเต็มคำว่าเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืน
และนี่คือ เป้าหมาย 3+2 ของ ซีพี