หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: PwC เผยธุรกิจอาเซียนตื่นตัวเดินตาม "เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน"  (อ่าน 88 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 30 พ.ย. 15, 15:50 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

PwC เผยผลสำรวจพบภาคธุรกิจอาเซียนขานรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ชี้ 97% เล็งนำแนวคิดดังกล่าว มาปรับใช้กับธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า ขณะที่พลเมืองทั่วอาเซียนต่างหนุนให้ทุกภาคส่วน มุ่งผลักดันนโยบายการเติบโตอย่างยั่งยืน

"วสันต์ ชวลิตวรกุล" หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) เปิดเผยถึงผลสำรวจ SDGs Paving the Way Towards Market Leadership ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นของพลเมืองและภาคธุรกิจจำนวนกว่า 300 รายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย (50%) ไทย (25%) สิงคโปร์ (13%) ฟิลิปปินส์ (7%) อินโดนีเซีย (3%) และเวียดนาม (2%) โดยผลการศึกษาฉบับนี้ อ้างอิงมาจากรายงานฉบับเต็ม Make it your business: Engaging with the Sustainable Development Goals ก่อนเวทีประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รับรองเป้าหมายเอสดีจีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่ผ่านมา

ผลสำรวจพบว่าพลเมืองและภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มตื่นตัวกับการมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมาย SDGs โดยภาคธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนถึง 97% มีแผนจะรับแนวคิดนี้มาปรับใช้ในองค์กรของตนในช่วงระยะ 5 ปีข้างหน้า ขณะที่ 87% ของประชากรในภูมิภาคอาเซียนก็เชื่อว่า ภาคธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง SDGs เป็นหลัก นอกจากนี้ 80% ของประชากรยังมีแนวโน้มที่จะบริโภคหรือจับจ่ายสินค้าและบริการจากบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าวอีกด้วย

"เรามองว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นกุญแจสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญไม่เฉพาะประชาคมโลก แต่รวมถึงรูปแบบการดำเนินธุรกิจของเอกชนซึ่งจะต้องเข้ามามีบทบาท และปรับแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐและผู้นำทั่วโลกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันในปี 2573"

อนึ่ง เอสดีจี มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากรโลก สร้างความเท่าเทียม ขจัดปัญหาความยากจน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เพื่อมุ่งไปสู่การสร้างสังคมที่ยั่งยืนในอีก 15 ปีข้างหน้า ครอบคลุม 17 ด้าน ได้แก่ 1) ความยากจน 2) ความหิวโหย 3) สุขภาวะ 4) การศึกษา 5) ความเท่าเทียมทางเพศ 6) น้ำและการสุขาภิบาล 7) พลังงาน 8) เศรษฐกิจและการจ้างงาน 9) โครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงให้เป็นอุตสาหกรรม 10) ความเหลื่อมล้ำ

11) เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ 12) แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน 13) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ 14) ทรัพยากรทางทะเล 15) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 16) สังคมและความยุติธรรม และ 17) หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล โดยมีเป้าหมายรองอีก 169 ข้อ โดย SDGs จะถูกใช้แทนที่เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ที่จะหมดอายุลงในสิ้นปีนี้

อย่างไรก็ดี แม้จะมีการตระหนักเรื่องนี้อย่างแพร่หลาย แต่มีธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนน้อยกว่าครึ่ง หรือ เพียง 45% เท่านั้น ที่มีแผนประเมินผลกระทบของการดำเนินธุรกิจต่อเป้าหมายดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม สะท้อนให้เห็นว่าโอกาสในการปรับปรุงและยกระดับการพัฒนาไปสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตของภูมิภาคยังมีอีกมาก โดยภารกิจหลัก 3 ประการที่ธุรกิจมุ่งปฏิบัติให้เกิดผลในระยะสั้นเกี่ยวกับ SDGs ได้แก่ การระบุว่าเป้าหมายใดมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของตนมากที่สุด (56%) ตามมาด้วย การกำหนดเป้าหมายองค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมายเอสดีจีนั้นๆ (40%) และจัดตั้งให้มีหน่วยงาน หรือทีมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายความรับผิดชอบที่ดีต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility team : CSR) อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม (38%)

นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาในด้านอื่นๆ ยังพบว่า ภาคธุรกิจมองว่าเป้าหมายเอสดีจีข้อที่ 8 ในเรื่องของเศรษฐกิจและการจ้างงาน เป็นเป้าหมายที่จะส่งผลกระทบที่สำคัญซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจของตนมากที่สุด ในขณะที่ด้านพลเมืองส่วนใหญ่มองว่าเป้าหมายที่ 4 หรือ การสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

"มัลคอล์ม เพรสตัน" หัวหน้าสายงาน Global Sustainability ของ PwC กล่าวเสริมว่า ในขณะที่หลายฝ่ายกำลังตื่นตัวกับการสนับสนุนเป้าหมายนี้ แน่นอนว่าอาจเกิดคำถามหรือเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนบางกลุ่มว่า จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์องค์กรให้สอดคล้องกับSDGs ไปพร้อมกับการแสวงหากำไรให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทได้อย่างไร

"ประเด็นนี้อยากให้มองว่า ผลตอบแทนที่สำคัญเหนืออื่นใดที่ภาคธุรกิจจะได้รับ คือ การลงทุนที่เอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในระยะยาว เพราะผลที่เกิดขึ้นจะสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของความเป็นองค์กร ที่ไม่ได้คำนึงถึงการสร้างรายได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังควบคู่ไปกับการตอบแทนสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย"

ทั้งนั้น แม้ว่า SDGs จะมาพร้อมกับความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินธุรกิจ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งจะช่วยเอื้อให้เกิดความชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมขององค์กร ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารเข้าใจและสามารถผลักดันวิสัยทัศน์ขององค์กรในระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นต่อการกำหนดรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มโอกาสขององค์กรในการมีส่วนร่วมสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก นอกจากนี้ SDGs จะเป็นตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


ที่มา: http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1448864478

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม