หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เกษมสันต์ วีระกุล : รัฐบาลไทย ไม่มียุทธศาสตร์ใน AEC  (อ่าน 674 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 17 ก.ย. 14, 09:08 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

เกษมสันต์ วีระกุล : รัฐบาลไทย ไม่มียุทธศาสตร์ใน AEC
By WEBMASTER | Published: MAY 6, 2014


อีกแค่ปีกว่าๆเท่านั้นที่อาเซียนจะถูกผนึกเข้าเป็นตลาดเดียวในนามของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหน ไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในตลาดนี้ หลายหน่วยงานกำหนดแผน กำหนดยุทธศาสตร์ AEC ออกมาเป็นแผนแม่บทแต่สำหรับเกษมสันต์ วีระกุล ผู้จัดรายการ AECกับเกษมสันต์ ทาง TNN 24 และ MORNING AEC กับเกษมสันต์ ทาง TV 3 กลับแย้งว่า แผนที่ออกมานั้นเป็นเพียงความฝันลอย ๆ แต่ไร้ซึ่งแผนปฏิบัติ จนอาจจะพูดได้ว่ามันไร้ซึ่งยุทธศาสตร์ ที่สำคัญประเทศไทยยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองจะมีบทบาทหลักอะไรในตลาด AEC ที่ว่านี้_MG_3419

ข้อวิจารณ์นี้เป็นสิ่งที่ต้องรับฟัง เนื่องจากประสบการณ์ของเขาทั้งในเชิงวิชาการ การทำงานภาคเอกชน และงานการเมือง โดยเฉพาะเมื่อคราวดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้สัมผัสข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ เขาสังเกตพบว่าตกอยู่สภาพอ่อนแอลงเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่เคยโตเฉลี่ย 4.5 ระหว่างปี 2534 – 2553 หล่นมาเหลือเพียงเฉลี่ย 2.9 ในช่วง 5 – 6 ปีมานี้ ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนขยายตัวเฉลี่ย 5.5

ขณะที่นโยบายด้านภาษี ไม่ว่าจะเป็นภาษีนิติบุคคล ภาษีบุคคลธรรมดา ที่ยังสูงกว่าประเทศอื่นในอาเซียนที่รัฐบาลต้องปรับลด แต่ยังไม่มีแผนที่จะหารายได้เพิ่ม รวมทั้งปัญหาคอรัปชั่น ที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ แต่ภาครัฐไม่มีแผนแก้ปัญหาอย่างชัดเจน ข้อสงสัยและการเข้าถึงข้อมูลแบบลงลึก เกษมสันต์ วีระกุล ตัดสินใจเดินทางไปในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อศึกษาข้อมูลว่าแต่ละประเทศวางแผนปรับตัวสู่ AEC แตกต่างจากไทยอย่างไร

HUNT: จากการศึกษาข้อมูลด้านยุทธศาสตร์ AEC ของไทย คุณเกษมสันต์พบว่ามีอุปสรรคในด้านใดบ้าง

พอออกจากการเมือง ผมก็มาศึกษาข้อมูลเยอะขึ้น อ่านตั้งแต่แผน 11 ของสภาพัฒน์ฯ ที่ครอบคลุมไปถึงปี 2559 ควรจะต้องเขียนเรื่อง AECไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มี มีอยู่ 2 พารากราฟสั้นๆ ซ้ำไปซ้ำมา กว้างๆสภาพัฒน์ฯ เขียนไว้ว่า จะเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เขียนไว้แค่นี้ คำถามคือ เขียนไว้แค่นี้ประเทศไทยจะไปทางไหน ในสภาพที่เงินน้อย ข้อจำกัดเยอะ ประเทศไทยจะใช้ไปซ้าย หรือขวา มันตอบไม่ได้ ประเทศอื่น อย่างสิงคโปร์บอกชัดเจนว่าจะเป็นศูนย์กลางAEC และจากนี้ไปจะพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการค้าเสรี เขาวางตำแหน่งประเทศของเขา มาเลเซียบอกจะเป็นฮับด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคโทรนิคส์ ลาวบอกจะเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย แต่ไทยไม่ได้บอกว่าจะเป็นอะไรเลย แค่บอกจะเป็น Connectivity เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค แต่ทั้งหมดนี้ ไม่ได้กำหนดบทบาทของประเทศว่าจะเป็นอะไร

ย้อนกลับไปดูแผนรัฐบาล เริ่มทำเวิร์คช็อปเรื่อง AEC ครั้งแรกกลางปี 2555ทำอยู่ 2-3 ครั้งได้ออกมาเป็นยุทธศาสตร์ต้นปี 2556แล้วเป็นยุทธศาสตร์ที่เขียนไว้กว้างๆ มันไม่ใช่ยุทธศาสตร์ นี่คือปัญหาใหญ่ของไทย คือไม่รู้ว่าประเทศจะไปทางไหน เลยกลายเป็นทำอะไรก็เข้าสู่AEC ยกตัวอย่างชัดๆ อย่างหน่วยงานด้านอุตสาหกรรม เขียนไว้ว่ายกขีดความสามารถของSMEs แล้วก็ฟลูสต็อป แล้วบอกว่าเป็นโครงการเพื่อ AEC สร้างอะไรนิดหน่อยก็ใช่ แล้วก็ใช้เงินกันแบบมั่วๆ กัน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 ก.ย. 14, 09:20 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

HUNT: หากจะบอกว่า ประเทศไทยจะเป็นครัวของโลก ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ของไทยได้หรือไม่

เป็นได้ แต่ประเด็นต้องกลับไปดูพืชเศรษฐกิจของเรา อย่างข้าวเมื่อเทียบกับเวียดนาม รัฐบาลเวียดนามทำ2-3 เรื่อง หนึ่งลดต้นทุน สองวันนี้เวียดนามจับมือกับกัมพูชา พม่า ในเรื่องข้าว การค้าข้าวในระดับโลกเขาร่วมมือกัน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น วันนี้ข้าวเวียดนามต้นทุนถูกกว่าไทย ส่งออกได้ดีกว่า ไทยมีข้าวคุณภาพดีกว่า แต่กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้ทำแบรนด์ข้าว ใช้วิธีตัดราคา ซึ่งตอนนี้เราสู้ไม่ได้แล้ว ข้อสอง ไทยไม่มีการคุมสต็อคข้าวที่ดี ขณะที่รัฐบาลจำนำไม่จำกัดจำนวน กลายเป็นข้าวคุณภาพต่ำจากต่างประเทศเข้ามาแทนข้าวไทย ตอนนี้ข้าวที่อยู่ในโกดังไม่ใช่ข้าวไทย เรากำลังทำลายระบบข้าวประเทศ เพราะฉะนั้นไทยยังเป็นศูนย์อาหารโลกไม่ได้ถ้าไม่แก้ปัญหาแบบนี้ให้ได้

HUNT: เปรียบเทียบประเทศต่างๆ ในอาเซียน วางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับ AEC ต่างกับไทยอย่างไรบ้าง

คำว่ายุทธศาสตร์ที่ผมพยายามพูดตลอดเวลา คือจะต้องมีกรอบวิธีทำไว้ไว้ด้วยซึ่งยุทธศาสตร์ของประเทศอื่นๆ จะเขียนวิธีการชัดเจน เป๊ะๆ ว่า ใครต้องทำอะไร ซึ่งต่างกับไทยมาก อย่างสิงคโปร์เขียนชัดเจนเลย หนึ่ง สอง สาม เป็นกรอบการทำว่าใครต้องทำอะไร สิงคโปร์มองว่าการเปิดAEC การค้าขายเสรีจะเป็นเครื่องมือสุดยอดที่ผลักดันประเทศ เขาเตรียมเจรจาการค้าเสรีกับทุกประเทศให้มากทื่สุด วันนี้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีข้อตกลงการค้าเสรีมากที่สุดในโลก นี่คือจุดขายของเขา สอง เขาพัฒนาประเทศให้แข่งกับฮ่องกง อย่างสร้างโรงเรียนรองรับการศึกษาของลูกหลานนักลงทุนต่างชาติ และสิงคโปร์ไม่มีพื้นที่ เพราะฉะนั้นเขาลงใต้ดิน เขียนไว้ในยุทธศาสตร์ชัดเจน ท่าเรือกำลังหมดสัมปทานอีก20 ปี ไม่ต่อสัญญา ใข้พื้นที่เตรียมลงใต้ดิน สร้างเมืองสองชั้น เพราะถมทะเลไม่ทันแล้ว และมีการจับมือกับมาเลเซียตอนใต้ พัฒนายะโฮร์บาห์รูป็นเมืองอุตสาหกรรม สิ่งที่เขาลงมือทำต่อมาคือจับมือกับเวียดนามพัฒนานิคมอุตสาหกรรม แล้วนำSMEs ของเขาไปลงที่เวียดนาม ไปสร้างโรงเรียน โรงพยาบาลรอไว้แล้ว ไทยไม่มีทางไล่ทัน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 ก.ย. 14, 09:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

มาเลเซีย20 ปีที่ผ่านมา เขาโต 6.2 เราโต 4.5 แล้วมหาเธร์ฯ นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียประกาศตั้งแต่ปี 2533 จะเป็นประเทศพัฒนา ประชาชนทุกคนมีรายได้ 15,000 เหรียญสหรัฐ พอปี 2553 นายกฯ ราจิบ ราซะก์ บอกไม่พอต้องปฏิรูปอีกรอบเพื่อให้เป็นประเทศพัฒนาภายในปี2563ซึ่งวิธีปฏิรูปของเขาเป็นสิ่งที่ไทยต้องเรียนรู้อย่างยิ่ง เพราะมาเลเซียมียุทธศาสตร์ชัดเจน นายกฯ ราจิบ ไปเชิญรองประธานเชลล์ Dato Sri Idris Jala มา Turn Around ประเทศ มีการทำKPIเป็นข้อๆ กำหนดไว้เลยต้องมีการจ้างงาน 3.3 ล้านตำแหน่ง ต้องมีการลงทุน 14 ล้านล้านบาท แยกชัดเจนว่า อุตสาหกรรมลงทุนจำนวนเท่าไร เอกชน รัฐบาลลงทุนเท่าไร การศึกษาจะปฏิรูปใน8 ขั้นตอนชัดเจนเขาบอกตอนนี้ 2561 เขาเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้แน่ ตอนนี้ทุกวันศุกร์ รัฐมนตรีทุกคนส่งข้อมูลKPI ผ่านไอแพดนายกฯ สามารถเรียกดูได้ตลอด ไปดูเวบไซต์ของเขาPEMANDU ข้อมูลเป๊ะ มาเลเซียตอนนี้ไม่ต้องพูดถึง เมื่อปี 2533 ตอนประกาศจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว รายได้ประชากรของเขา 70,000 บาทต่อปีไทย 50,000 บาทต่างกัน 20,000บาท ตอนนี้ไทย180,000 มาเลเซีย 340,000ต่างกัน 160,000 นี่คือผลที่ประเทศไม่มียุทธศาสตร์และทิศทางที่แน่นอน

เวียดนามวันนี้ประเทศต้องการส่งเสริมการลงทุน รัฐบาลเป็นสังคมนิยมก็จริง แต่บริหารเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี วันนี้เวียดนามใช้ระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ ผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัดมีอำนาจตัดสินใจต่อรองกับเอกชนได้ ภายใต้กรอบที่รัฐบาลใหญ่ให้ เช่น ลดภาษีได้ภายใต้กรอบได้เท่านี้ จะพัฒนาถนนหนทางอย่างไร ตอนนี้เวียดนาม ถนนนิคมกว้าง 10 เลน ใหญ่ยิ่งกว่าไฮเวย์บ้านเรา แล้วแบ่งเป็นโซนที่อยู่อาศัย โซนโรงเรียน มีโรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์ไปตั้งรอ มีบริการแบบ ONE Stop Service ผู้ว่าฯ ดูแลหมด คอรัปชั่นเวียดนามดูเหมือนเยอะ แต่นักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในเวียดนามบอกว่า เวียดนามเรื่องเล็กๆ เอา แต่เรื่องใหญ่ไม่มีใครกล้าเอา เพราะฉะนั้นตัวเลขคอรัปชั่นเหมือนแย่กว่าเรา แต่ในเรื่องนโยบายเขาไม่กล้า เพราะฉะนั้นนักลงทุนก็กล้าไปลงทุกวันมากกว่า

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 ก.ย. 14, 09:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ยกตัวอย่าง ซัมซุง เมื่อ 3 ปีที่แล้วไปลงทุนโรงงานหนึ่งแห่งในเวียดนาม ส่งออกจากเวียดนามมูลค่าแสนล้านบาท2 ปีต่อมา ซัมซุงสร้างอีกเป็น3 โรงงาน หนึ่งในนั้นเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้านการผลิตมือถือ และกล้องถ่ายรูป ล่าสุดปี 2556 เฉพาะซัมซุงอย่างเดียวส่งออกจากเวียดนาม 500,000 ล้าน ทำให้ส่งออกเวียดนามโต 16 %แต่ไทยส่งออกโต 0 % ไทยตอบได้ไหมว่า ทำไมบริษัทอย่างซัมซุง ถึงเลือกลงทุนที่เวียดนาม ไม่มาไทย ทั้งที่เราบอกเป็นศูนย์กลางตอนนี้ อินเทล โซนี่ ไอทีต่างๆ ไปลงเวียดนามหมด

ส่วนลาว รัฐบาลกำลังลงทุนสร้างหลายสิบ เขื่อน ให้ประเทศเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย ไฟฟ้าจะเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของลาว ตอนนี้ลาวส่งออกสินค้าทุกอย่างรวมไฟฟ้าด้วย 100,000 ล้านบาทต่อปี แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ลาวจะส่งออกเฉพาะไฟฟ้าอย่างเดียว 200,000 ล้านบาทและวันนี้วิธีคิดรัฐบาลลาวต่างจากรัฐบาลไทยรัฐบาลอยากได้เขื่อน อยากได้ถนน รถไฟ จีนมีเงินใช่ไหม อย่างนั้นคุณมาสร้าง แล้วต้องการอะไรมาตกลงกัน รัฐบาลลาวไม่มีเงิน คุยกันแบบนี้ แต่ถ้าเอามากไปไม่คุย ที่ดินกลางเมืองถนนล้านช้างที่ไปประตูชัย เป็นศูนย์ราชการเก่า คุณอยากสร้างศูนย์การค้าใช่ไหม คุณไปหาพื้นที่นอกเมืองสร้างให้ด้วย แล้วผมให้สัมปทานที่ดินตรงนี้ เพราะฉะนั้นศูนย์ราชการของเขาลาวอีกไม่กี่ปีจะย้ายไปอยู่ด้านนอกเวียงจันทร์หมด ในเมืองจะเป็นเขตเศรษฐกิจ รัฐบาลลาวคิดแบบนี้ ผมเพิ่งข้ามจากเชียงแสนไปลาว เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงคำ 107 ตร.กม. รัฐบาลลาวยกให้ 99 ปี ให้จ้าวเหว่ย นักธุรกิจจีนนำไปพัฒนา การบริหารกฎระเบียบเป็นของคุณเอง เหมือนประเทศซ้อนประเทศ ตอนนี้เจ้าเหว่ยลงทุนไปแล้ว3 หมื่นล้าน ทำทุกอย่าง สร้างสังคม สร้างโรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่เกษตรกรรม ต่อไปนี้คนจีนแก่ๆ มาเลยมาอยู่โรงพยาบาลที่นี้ ดูแลแบบVIP อากาศก็ดี ซึ่งลาวจะมีแบบนี้ 10 เขต

แต่วันนี้ประเทศไทย เดินแบบสะเปะสะปะ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะทำอะไร ไม่มียุทธศาสตร์เลย ที่สภาพัฒน์ฯ หรือการเวิร์คช็อปเขียนเอาไว้ แต่มันทำไม่ได้ เพราะไม่มียุทธศาสตร์ อย่างบอกว่า เพิ่มขีดความสามารถของประเทศด้วยการส่งเสริมSMEs แล้วฟลูสต๊อปอย่างนี้ทั่วโลกไม่เรียกว่ายุทธศาสตร์ เขาเรียกความฝัน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 ก.ย. 14, 09:22 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

HUNT: หากถามว่า ถ้าอย่างนั้นไทยควรวางยุทธศาสตร์ หรือตำแหน่งประเทศอย่างไร

ถ้าผมเป็นที่ปรึกษา ผมจะทำไทยให้เป็นศูนย์กลางการลงทุน ใครต้องการเริ่มต้นมาเริ่มที่ไทย แล้วแบ่งพื้นที่ชัดเจน คิดเป็นระดับจังหวัด อย่างอุดรธานี ใครอยากไปลงทุนในลาว เวียดนาม มาตั้งต้นที่อุดรธานี เป็นศูนย์กลางข้อมูลทุกอย่าง แปลว่าหอการค้าอุดรฯ สามารถไปเชิญผู้ให้ข้อมูลจากประเทศต่างๆ มาให้ข้อมูลกับนักลงทุน มากไปกว่านั้นปัญหาคอรัปชั่นเมืองไทยมันหนักหนา ถ้าหอการค้าอุดรธานี ประกาศเป็นที่แรกว่า ข้าราชการคนไหนมือสกปรกมาอยู่อุดรฯ ไม่ได้ คือ ทำเป็นระดับประเทศไม่ได้ แต่ทำเป็นระดับจังหวัดได้ ถ้าคุณทำจังหวัดให้Clean ได้ ก็พัฒนาคนรองรับนักลงทุนต่างชาติได้ นี่คือวิธีคิดของผม

เท่าที่ผมได้สัมผัส เอกชนเตรียมพร้อมหมดแล้วคิดคนละแบบกับรัฐบาล อย่างเชียงใหม่บอกผมไม่รอรัฐบาลแล้ว ไม่รอเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเอกชนเชียงใหม่บินไปพม่า ไปคุยกับหอการค้ามัณฑะเลย์บ้าง เมืองอื่นบ้าง ใช้ใจไปแลกใจ เพื่อจะค้าขายไปด้วยกัน โตไปด้วยกัน ทำแบบนี้ได้ผล แต่รัฐบาลไม่เคยส่งเสริมเรื่องแบบนี้ รัฐบาลไม่ทำอะไรเลย ชวนรัฐบาลเพื่อนบ้านทะเลาะอีกต่างหาก นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น

ประเทศไทยโดยภูมิรัฐศาสตร์อยู่ตรงกลางค่อนข้างเยี่ยม แต่ทำเลอย่างเดียวช่วยไม่ได้ ไม่พอ อย่างนั้นเราต้องเป็นศูนย์กลางไปนานแล้ว เพราะประเทศไทยอยู่ตรงนี้มาเป็นร้อยปีแล้ว ไม่เคยย้ายไปไหน แค่สร้างทางรถไฟผ่านช่วยไม่ได้ เราต้องทำให้ประเทศพร้อมใน 3 เรื่อง คือ ความง่ายในการทำธุรกิจ ความโปร่งใสต้องแก้ Infrastructureต้องแก้ไข ซึ่ง Infrastructureไม่ได้หมายถึงถนนหนทางอย่างเดียว มันจะรวมทั้งเรื่อง การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สุขภาพและสิ่งแวดล้อม

สำหรับเอกชน ผมสนับสนุนให้เอกชนแต่ละภูมิภาคที่อยู่ใกล้ชายแดนสร้างความสัมพันธ์แบบใจแลกใจ ต้องทำให้เยอะๆ เอกชนไทยไม่เคยรอรัฐบาล แต่เอกชนทำฝ่ายเดียวไม่พอ รัฐบาลส่วนกลางต้องปฏิรูปประเทศยกใหญ่ ตั้งหลักให้ดี ถึงจะรอด ถ้ายังเป็นอย่างนี้ไม่รอด อย่าว่าแต่แพ้สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนามเราก็กำลังจะแพ้ในไม่กี่ปี

HUNT:หากจะถามว่าประเทศไทยควรมีแผนอย่างไร ทั้งการวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เพื่อรองรับ AEC

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 17 ก.ย. 14, 09:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ระยะสั้นผมคิดว่าต้องทุ่มเทเรื่องแก้ปัญหาคอรัปชั่นให้ได้เร็วที่สุด เพราะเป็นปัญหาใหญ่สุดของประเทศ เมื่อมีเรื่องคอรัปชั่นมันบังตาไปหมดทุกอย่าง มีคอรัปชั่นปั๊ปก็ไม่คิดอะไรที่เป็นระยะยาวแล้ว คิดแต่ที่เป็นQuick Money Quick Project ซึ่งต้องปฏิรูปพร้อมกันทั้งระบบ อย่าง ปปช. ตั้งขึ้นมามีอำนาจครบหมดทุกอย่าง พร้อมที่จะจับใคร ลงโทษใครก็ได้ แต่คำถามคือทำไมไม่ทำ ผมว่าผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปราบปรามคอรัปชั่น โดยเฉพาะปปช. ต้องเปลี่ยนวิธีคิด คุณต้องลุยจับ ผมไม่เคยเห็นที่ไหนใช้วิธีรณรงค์แล้วจะได้ผล โดยไม่ปราบ ต้องปราบก่อน แล้วค่อยรณรงค์ รณรงค์เฉยๆไม่ได้ เพราะคนโกงยังลอยนวลอย่างฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ทุกประเทศเริ่มต้นจากการปราบอย่างจริงจังและรุนแรง ไม่ไหวหน้าใคร สิงคโปร์เป็นเพื่อนนายกฯ ลีกวนยู ยังจับ แล้วสร้างพิพิธภัณฑ์คนโกงด้วย ให้เด็กได้รู้ว่าคนนี้โกงแบบนี้ คนนั้นโกงแบบนั้น ฮ่องกง40 ปีที่แล้ว ก่อนตั้ง ICAC ปปช.ของฮ่องกงก็โกงอุตลุด พอตั้ง ICAC ให้ขึ้นตรงกับผู้ว่าการฮ่องกง เพราะตอนนั้นตำรวจเป็นปัญหาใหญ่ ใช้คนรุ่นใหม่จัดการเทรนอย่างดี ไปไล่จับอย่างจริงจัง ตอนนี้ฮ่องกงติดอันดับ 10 ประเทศที่มีความโปร่งใสทั่วโลก

การแก้คอรัปชั่นของไทยเท่าที่ผมศึกษากฎหมายไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ที่วิธีคิดว่าจะจับหรือเปล่า ถ้าเกรงใจไม่กล้ากลัวนั่นกลัวนี่ผมว่านักกฎหมายมาปราบคอรัปชั่นไม่ได้ กับคนแก่ปราบคอรัปชั่นไม่ได้ เพราะอายุ 70 ปี ชีวิตกำลังสบายๆ บั้นปลายชีวิตไม่อยากสร้างศัตรู ต้องเป็นคนรุ่นใหม่บ้าเลือด ใครผิดจับๆแล้วมาสู้คดีกัน ผมว่าจับให้เห็นสักพัก ข้อมูลจะทะลักมาหมด แล้วประชาชนต้องมีส่วนร่วม แล้วค่อยมารณรงค์

ขั้นต่อมา คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบวางแผนประเทศต้องเอาความจริงให้ประชาชน ภาคธุรกิจควรได้รับรู้ว่าวันนี้สาระของประเทศไทยอยู่ตรงไหน ตอนนี้ทุกคนไม่รู้ว่าประเทศแข็งแรงแค่ไหน มีกล้ามเนื้อแค่ไหน เงินในกระเป๋ามีแค่ไหน อย่างระบบภาษีเรายังรั่วไหลเยอะ ทำงาน 38 ล้านคน แต่มีแค่ 9 ล้านคนเสียภาษี คืออะไร ยังไม่มีทางแก้ตรงนี้เลย ขณะที่ค่าใช้จ่ายสาธารณสุขเพิ่มขึ้น การศึกษาก็ใช้เงินเยอะมาก แต่นักเรียนสอบตกคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ อย่างนี้ไม่ใช่แล้ว เราต้องเอาปัญหาทั้งหมดมาวางให้เห็น แล้ววางแผน จะทำอะไรก่อน แล้วค่อยบอกตัวเองว่าจะเป็นอะไร

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 17 ก.ย. 14, 09:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ผมว่าสภาพัฒน์ฯ หมดสภาพ ซึ่งถ้าปฎิรูปจริงๆ จังๆ ผมว่าต้องอาศัยภาคเอกชน เอามือเด็ดๆ ของภาคเอกชนมานั่งวางแผน มาเลเซียปฏิรูปประเทศได้ เพราะให้ผู้บริหารเอกชนมาTurn Around ประเทศ คิดวางแผนแบบเอกชนในการบริหาร ตอนนี้ประเทศไทยยังบริหารแบบภาครัฐ ซึ่งไปไม่รอด ยกตัวอย่าง KPI ของกระทรวงพาณิชย์ เรื่องส่งออก KPI คืออะไรครับ หนึ่งไปออกเทรดแฟร์สินค้า ไปครบ ผ่าน ไปเจรจาการค้า ไปครบ ผ่าน แต่ตัวเลขส่งออกไม่เกี่ยว เอกชนฟังแล้วหัวเราะ นี่คือ ประเทศไทย ถ้าให้ภาครัฐปฏิรูป เขามองไม่เห็นปัญหาต้องใช้ภาคเอกชนที่มีความคิดปฏิรูปมาขับเคลื่อนประเทศตอนนี้รัฐบาลต้องคิดแบบเอกชน บริหารแบบเอกชน ให้มีความโปร่งใส เพราะวันนี้เพื่อนบ้านเราปรับกันหมดแล้ว ซึ่งโมเดลนี้ทุกประเทศพิสูจน์ให้เห็นแล้ว ทั้งสิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ทำให้เห็นแล้ว เวียดนาม กำลังทำ ทุกประเทศเห็นแล้วว่าบริหารแบบเดิม ๆไม่ได้

สุดท้ายต้องมียุทธศาสตร์ระยะยาว ประเทศไทยต้องปฏิรูปทุกภาคส่วน จะเห็นว่าโอกาสของเรามีมหาศาล ยกตัวอย่าง อีก10 ปีข้างหน้า คนแก่ล้นโลก ประเทศไทยเหมาะมากที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมรองรับผู้สูงอายุ เพราะพื้นที่เยอะ อากาศดีไม่ร้อน ไม่หนาวเกินไป ประเทศจีนอย่างน้อย 500 ล้านคน กำลังหาที่อยู่อาศัย หาคนดูแล ซึ่งไทยเหมาะกับอุตสาหกรรมรับดูแลคนกลุ่มนี้ แล้วตำแหน่งประเทศคือ ทำประเทศให้ปลอดสารเคมีมากที่สุด ซี่งต้องมารื้อเรื่องเกษตรกรรมกันใหม่ สารเคมีห้ามใช้ การลงทะเบียนเกษตรกรต้องมีความชัดเจน ให้ใครปลูกพืชอะไรที่ไหนอย่างไร คือต้องคิดทั้งระบบ ให้ Clean ทั้งระบบ แล้วกระทรวงพาณิชย์จะสร้างแบรนด์อย่างไร ข้าวไทยจะสร้างแบบไหน ร้านอาหารไทยที่มีอยู่ทั่วโลกจะร่วมมือกันอย่างไร ต้องคิดเป็นระบบตั้งแต่ต้น จับมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร

HUNT: ในฐานะที่ได้เดินทางสัมผัสกับประเทศเพื่อนบ้านใน AEC คิดว่าประเทศไทยที่มีศักยภาพสำหรับนักลงทุนไทย

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 17 ก.ย. 14, 09:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ถ้าให้ผมเรียง Priority ผมไปอินโดนีเซียก่อน เพราะตลาดขนาดใหญ่ ทำให้ทุกอย่างน่าสนใจประชากร 250 ล้านคน มหาศาล อินโดนีเซียเป็นที่ตั้งของสำนักงานอาเซียนก็จริง แต่เป็นประเทศที่สนใจAEC น้อยที่สุด เพราะแค่ผลิตและขายในประเทศเขาก็ทำไม่ทันแล้ว เพราะฉะนั้นเขารู้สึกว่าทุกครั้งที่เปิดประเทศเขาเสียเปรียบประเทศอื่นตลอด อินโดนีเซียเลยเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในAEC ซึ่งตั้งการ์ดสูงที่สุด มีการปกป้องสินค้า แต่น่าไปลงทุนในเรื่องสินค้าอุปโภคบริโภค ตลาดใหญ่มาก มีโอกาส และภายในไม่เกิน 15 ปีข้างหน้าอินโดนีเซียจะเติบโตติด 1ใน 10 ของเศรษฐกิจโลกจุดอ่อนอย่างเดียวของอินโดนีเซีย คือ พื้นที่ประเทศใหญ่เหลือเกิน แล้วเป็นเกาะ 17,000 กว่าเกาะบินจากกรุงเทพฯ ไปจาการ์ต้าใช้เวลา 3 ชั่วโมง แต่บินจากด้านตะวันออกถึงด้านตะวันตกของอินโดนีเซียใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมง ส่วนการปราบคอรัปชั่นเขาเหนือกว่าเราเยอะ ตั้งแต่กลางปีที่แล้วเป็นต้นมา เขาจับประธานศาลรัฐธรรมนูญคาบ้านเลย ข้าราชการระดับใหญ่ไป 3-4คน ยึดทรัพย์ด้วย แล้วว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่เป็นคนมือสะอาดมาก ถ้าคนนี้ขึ้นมายิ่งมันส์ใหญ่ อินโดฯ น่าไปลงทุน ทั้งแง่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ความขาดแคลนสินค้าอีกหลายประเภท ไปได้อีกไกล

อันดับสองคือ เวียดนาม เพราะวันนี้ถนนทุกสายมุ่งสู่เวียดนาม การลงทุนจากต่างชาติตอนนี้ใกล้เคียงกับไทย และกำลังจะแซงไทย สิงคโปร์ไปจับมือใกล้ชิด จีนเข้ามาช่วย แล้ววันนี้เวียดนามกฎหมายชัดเจนมาก คือติดต่อผู้ว่าคนเดียว ผู้ว่าซีอีโอ เรื่องคอรัปชั่นระดับใหญ่เบากว่าเมืองไทย ลงทุนได้ทั้งพื้นที่ทางเหนือและใต้ มีนิคมอุตสาหกรรมกระจายอยู่ แค่ห่างจากฮานอย โฮจิมินห์ประมาณ2-3 ชั่วโมง ผมมองว่าอีกไม่เกิน 10 ปี ติดต่อกับเวียดนามจะไม่ต่างกับติดต่อกับสิงคโปร์ อย่างมาริน่า เบย์ ที่มีอาคารธุรกิจการเงินตั้งอยู่ ตอนนี้เวียดนามกำลังก่อสร้างอยู่

แต่เป็นนักลงทุนที่ไม่เคยลงทุนนอกประเทศเลย แล้วกังวลเรื่องAEC แนะนำให้เริ่มที่ลาว ลาวประชากร 6 ล้านคนเศษ ประชากรรายได้ 4 หมื่นกว่าๆ ทุกคนมองว่าตลาดเล็ก ไม่น่าสนใจ แต่อีกมุมหนึ่งคนลาวกับคนไทยพูดภาษาเดียวกัน นิสัยใจคอเข้าใจกัน กฎระเบียบไม่ชัดเจนเหมือนเมืองไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าอยากลองค้าขายระหว่างประเทศไปลองที่ลาว เป็นประเทศที่เสี่ยงน้อยที่สุด ถ้าเก่งที่ลาวแล้ว ค่อยไปลงทุนที่อื่น

พม่า ผมยังไม่ได้ไปด้วยตัวเอง แต่จากการอ่านข้อมูล นักธุรกิจที่ไปลงทุนจะพบว่ายังมีความเป็นทหารค่อนข้างสูง ถ้าถามผมต้องรออีกหน่อย เพื่อให้การเมืองที่พัฒนาการที่ชัดเจนกว่านี้ ตอนนี้จะเข้าไปทำงานในพม่าได้ ต้องมีConnectionดีจริงๆ ต้องรู้จักกับทหาร ตอนนี้พม่าเกิดภาะเฟ้อ ด้านอสังหาริมทรัพย์ ตอนนี้สิ่งที่เคยราคาถูกอย่างที่ดิน ค่าที่พัก เพิ่มแซงหน้าอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้นทุนที่สูงเกินเหตุ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 17 ก.ย. 14, 09:25 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ส่วนเขมร ผมก็ยังไมได้ไป แต่เหมาะสำหรับไปตั้งโรงงานขนาดเล็ก เขมรมีจุดอ่อนคือ แรงงานไม่ได้เยอะ 14 ล้านคน ขนาดตลาดไม่ได้ใหญ่ แล้วนิสัยของคนเขมรจะออกแนวมองระยะสั้น เอาตัวรอด ทำงานระยะยาวยาก แต่ในแง่ธุรกิจ Deal จบเป็นจบ อันนี้เป็นจุดเด่นของเขมร

ฟิลิปปินส์ ผมว่าสิ่งที่เขาดีขึ้นมา คือคอรัปชั่น ด้านกำลังซื้อฟิลิปปินส์มีแรงงานไปทำงานต่างประเทศ 7 ล้านคน ส่งเงินกลับประเทศเฉลี่ยคนละ 100,000 บาทเท่ากับ 700,000 ล้านต่อปี สองฟิลิปปินส์ตอนนี้เน้นการก่อสร้าง 2 อย่างนี้ทำให้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์บูมมาก อัตราการเติบโตสูงติดท็อปกลุ่มAEC แต่ปัญหาของฟิลิปปินส์คือเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าคนพื้นที่บอกว่าถนนเส้นนี้ไปได้ ถนนเส้นนี้ไปไม่ได้ ต้องฟัง

มาเลเซีย กับสิงคโปร์ต้องปล่อยเขาไป เพราะตอนนี้ทั้ง2 ประเทศแซงเราไปแล้ว กลับมามองไทย กับสิงคโปร์ ไทยไม่ควรคิดแข่ง แต่ควรคิดแบบร่วมมือ ซึ่งไทยอยู่ในภาวะที่ร่วมมือกับเขาได้หมด หรือลาวก็ต้องเน้นการร่วมมือ เพราะตอนนี้ซื้อไฟฟ้าจากเขาเป็นหมื่นล้าน อนาคตต้องซื้อเพิ่ม ยิ่งต้องจับมือกับเขาให้แน่น

ไทยก็ต้องเป็นมิตรกับทุกประเทศ พม่า ลาว เขมร ต้องจับมือกับเขาให้ได้ ต้องไปด้วยกัน อย่าไปคนเดียว

Profile

เกษมสันต์ วีระกุล

นักวิชาการอิสระเชี่ยวชาญด้านเออีซี

มัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ)

นักวิจัยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น มหาวิทยาลัย โอซาก้า 2 ปี


เครดิต hun

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม