คำพิพากษาฎีกาที่ 691/2552 รับประทานอาหารในพื้นที่ต้องห้าม ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรม เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า มีบริษัทผลิตกระเป๋าส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศแห่งหนึ่ง
เลิกจ้างพนัก
งานเพราะ พนักงานนำอาหารบรรจุถุงพลาสติกเข้าไปรับประทานในอาคารโรงงาน
ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบในการทำงานของบริษัทฯ
และพนักงานได้ไปฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้จ่ายค่าชดเชย และ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า
การรับประทานอาหารของโจทก์ไม่ได้ทำให้มีเศษอาหารติดไปกับสินค้า
และ พนักงานผู้นั้นไม่ทราบประกาศ เรื่องห้ามพนักงานนำของกินเข้ามาในโรงงาน
การที่พนักงานนำอาหารเข้าไปรับประทานในโรงงาน
ในขณะที่ไม่ใช่เวลาปฏิบัติงานเป็นเพียงการฝ่าฝืนวินัย
ศาลชั้นต้นสั่งให้บริษัทจ่ายค่าชดเชย และค่า เสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อีกเป็นเงิน 30,000 บาท
บริษัทจึงได้ทำการอุทธรณ์สู้คดี
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่
พิเคราะห์แล้วเห็นว่ารายได้หลักของจำเลยที่ 2 มาจากสินค้ากระเป๋า
การที่บริษัทออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ระบุว่าห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม และผลไม้ขึ้นไปรับประทานบนโรงงาน
ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าที่จำเลยที่ผลิต
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเคยมีเศษพลาสติกห่อของกินปะปนอยู่ในกระเป๋าสินค้า
ที่ผลิตที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนส่งไปขายที่ประเทศญี่ปุ่น จนถูกลูกค้าส่งสินค้ากลับคืนมา
จึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่บริษัทออกระเบียบข้อบังคับห้ามพนักงานนำอาหาร เครื่องดื่ม และผลไม้
ไปรับประทานบนโรงงานเพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารหรือวัสดุห่ออาหาร หลงปะปนไปกับสินค้าของบริษัท
การที่พนักงานผู้นั้นฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อนี้จึงเป็นเหตุสมควรที่บริษัทเลิกจ้าง
โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า พนักงานผู้นั้นรู้ข้อความในประกาศหรือไม่
ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จ่ายเฉพาะค่าชดเชยตามอายุงานเท่านั้น
ที่มา: คุณ Phao เว็บโอเคเนชั่นบล็อก
http://www.oknation.net/blog/phao/2013/10/04/entry-1