หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 69  (อ่าน 493 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 3 ก.พ. 13, 12:32 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 69


ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 69 โดยปีนี้จัดภายใต้แนวคิดหลัก "มองมุมกลับ ปรับมุมมอง" ซึ่งที่มาคือ เลข 69 จากครั้งที่ 69 เนื่องจากเลข 6 เมื่อกลับหัวแล้ว มันสามารถมองเป็นเลข 9 ได้ ทำให้นึกถึงคำว่า มองมุมกลับขึ้นมา ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาตร์เป็นงานที่อยู่คู่สถาบันการศึกษาทั้งสองและสังคมไทยมาช้านาน ถือเป็นงานที่เปี่ยมด้วยคุณค่า และประโยชน์นานาประการ ในแง่ของนิสิตนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยมาทำงานกับผองเพื่อนใน มหาวิทยาลัยของตนเอง โดยต้องทำงานกันอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน และการนำทักษะและความรู้ที่นิสิตนักศึกษาได้ร่ำเรียนมาประยุกต์ใช้ จริง ดังนั้นนิสิตนักศึกษาจึงได้เพิ่มพูนศักยภาพของตนเองผ่านการวางแผนและ ปฏิบัติงานในงานฟุตบอลประเพณีฯ



กิจกรรมดีๆ ของนิสิตจุฬาฯและนักศึกษาธรรมศาสตร์ ปีนี้สีสันของงานก็คงหนีไม่พ้นเหล่าเชียร์ลีดเดอร์หนุ่มหล่อ-สาวสวย ที่เห็นแล้วก็บอกว่า น่ารัก สดใส สมวัยจริงๆ ขบวนล้อการเมือง ก็ใช่ย่อย มาแบบแรงๆ จัดเต็ม เสียดสี ได้มันส์หยดเลยทีเดียว งานดีๆสร้างสรรค์แบบนี้ทีมงาน Sanook! Campus ไม่พลาด เราได้เก็บบรรยากาศมาฝากกันแล้วครับ.....


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 3 ก.พ. 13, 12:43 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สำหรับผลการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 69 จุฬาชนะมธ. 1:0 คว้าแชมป์ งานบอล'69 ครองแชมป์ 3 สมัยได้อย่างสำเร็จ (งานบอล'67 จุฬาฯชนะ ธรรมศาสตร์ 3:1 / งานบอล'68 จุฬาฯ ชนะธรรมศาสตร์ 1:0)

กำเนิดฟุตบอลประเพณี

ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ก่อกำเนิดครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2477 โดย แนวความคิดของนิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเคยเรียนอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ได้หารือกันว่าควรจะมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสถาบันเพื่อเสริมสร้างความ สามัคคีระหว่าง นิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันและควรจัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปี ผู้ริเริ่มฝ่ายธรรมศาสตร์มีพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ยมนาค บุศย์ สิมะเสถียร และฝ่ายจุฬาฯ มี ประสงค์ ชัยพรรค,ประถม ชาญสันต์ และประยุทธ สวัสดิ์สิงห์ การแข่งขันครั้งแรกนั้นทางฝ่ายธรรมศาสตร์คือ ดร.เดือน บุนนาค เลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองสมัยนั้นรับจัดการแข่งขัน และได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

การแข่งขันทุกปีนั้น ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า รายได้ที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้ว จะมีการมอบการกุศลทุกครั้งโดย ในครั้งแรกซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ณ สนามหลวง ท้องทุ่งพระสุเมรุ มีการเก็บเงินค่าผ่านประตูบำรุงสมาคมปราบวัณโรค ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดของไทยขณะนั้น หลังจากนั้นก็มีการเก็บเงินบำรุงการกุศลเรื่อยมา เช่น ในช่วงแรก ๆ มีการเก็บ เงินบำรุงทหาร สมทบทุนสร้างเรือนพักคนไข้วัณโรคช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยบำรุงสภากาชาด บำรุงมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก สมทบทุนอานันทมหิดล สร้างโรงเรียนชาวเขา ฯลฯ

นอกจากนี้ก็ยังมีการเก็บเงินเพื่อบำรุงการศึกษาของทั้งสองสถาบัน และตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 34 (พ.ศ. 2521) จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้นำเงินรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ด้านสถานที่ที่ใช้ในการแข่งขัน มีครั้งแรกเพียงครั้งเดียวที่ใช้ท้องสนามหลวงเป็นที่แข่งขัน ครั้งที่ 2, 3, 4 ได้ย้ายไปจัดที่สนามฟุตบอลโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และนับตั้งแต่ครั้งที่ 5 เป็นต้นมาได้ย้ายมาจัดที่ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน (ยกเว้นครั้งที่ 41 และ 44 จัดที่สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์) แม้ว่าจะถือเป็นประเพณีว่าการจัดการแข่งขันจะจัดเป็นประจำทุกปี

แต่ในบางปีสถานการณ์บ้านเมืองไม่เหมาะสม ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดงาน จึงได้มีการงดเว้นในหลาย ๆ ช่วงคือ ในปี พ.ศ. 2485 เนื่องจากเกิดน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯพ.ศ. 2487-2491 ไม่มีการแข่งขัน เนื่องจากอยู่ในระหว่างสงคราม พ.ศ. 2494 มีเหตุขัดข้องบางประการ พ.ศ. 2516-2518 และ พ.ศ. 2520 ไม่มีการแข่งขัน เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองไม่อำนวย

อนึ่ง นับตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 10 วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา เสียงเพลงพระราชทาน "มหาจุฬาลงกรณ์" และ "ยูงทอง" ได้ก้องกังวานขึ้นเป็นครั้งแรกที่มี การชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ซึ่งพระองค์ได้เสด็จมาทรงเป็นประธาน และตั้งแต่ครั้งที่ 12 วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2495 จนถึงปัจจุบัน มีการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งของนิสิต-นักศึกษาทั้ง 2 สถาบัน ในการที่จะรักษาประเพณีอันดี ความสามัคคีของทั้ง 2 สถาบันให้แน่นแฟ้นสืบไป

ดาราวัยรุ่น สุขภาพ วัยรุ่น ความรู้รอบตัว ข่าวการศึกษา นักศึกษา Education
ทุกๆเรื่องที่คุณอยากรู้ http://campus.sanook.com
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 3 ก.พ. 13, 12:44 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 69




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 3 ก.พ. 13, 12:46 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 69




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 3 ก.พ. 13, 12:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 69




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 3 ก.พ. 13, 12:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 69




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  งาน ฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม