ผมมีญาติอยู่ที่ท่าเตียน ริม
แม่น้ำเจ้าพระยา เขตพระนคร กทม.
เมื่อทราบข่าวน้ำจากเขื่อน น้ำทะเลหนุนก็เป็นห่วงเป็นอย่างมาก
โทรฯไปสอบถามก็ได้ยินว่ามั่นใจในคันกั้นน้ำที่ทำขึ้นว่าจะรับมืออยู่
และมีคำพูดที่น่าสนใจว่า
"อยู่ใกล้วัดพระแก้ว อยู่ใกล้วังเขาไม่ปล่อยให้ท่วมหรอก"
"หลายปีก่อนที่ท่วมเพราะไม่มีคันกั้นน้ำ วันนี้มีแล้วไม่กลัว"
ผมจึงหาข้อมูลเพื่อให้ญาติได้ใช้ดูอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ไม่ต้องเชื่อความเห็นหรือข่าวลือที่มีมากมายในขณะนี้ ดังนี้
เรียน ญาติ ๆ ที่กรุงเทพมหานคร
เมื่อวานผมหยุด
งานทุกอย่างเพื่อหาข้อมูลเรื่อง
น้ำท่วมกรุงเทพฯทั้งวัน ด้วยความเป็นห่วง
ทั้งทาง INTERNET และสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านชลประทาน
จนได้วิธีดูน้ำจะมาบ้านเราอย่างชาวบ้านง่าย ๆ ดังนี้
อย่างที่ทราบกันแล้วว่า น้ำมาจากทางเหนือ
ผ่าน นครสวรรค์ สิงห์บุรี อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กทม. (ดูแผนที่ http://g.co/maps/4ny8a )
ท่าเตียนอยู่ติดเจ้าพระยาจึงน่าห่วง
เราจะคาดการณ์ปริมาณน้ำที่จะมาถึงกรุงเทพฯได้อย่างไร
มี 2 จุดใหญ่ ๆ ที่ผมคิดว่าน่าจะติดตามคือ
จ.นครสวรรค์ ทางชลประทานเขาเรียกจุดนี้ว่า C 2
ดูได้จากเวปนี้ : http://hydro-5.com/ กดที่ 4 สภาพน้ำท่า
กดที่ ตารางข้อมูลน้ำท่ารายวัน
ดูที่ C2 เจ้าพระยา เมือง นครสวรรค์ แถบสีชมพู ความจุลำน้ำ
ตัวเลขบนเป็นระดับน้ำที่จุได้ ถ้าเกินตัวเลขนี้แสดงว่าล้นตลิ่ง หน่วยเป็น เมตร
ตัวเลขข้างล่างเป็นปริมาณน้ำ คือน้ำที่ไหลผ่านในจุดนั้น ไหลเร็วเท่าไหร่,มีมากเท่าไหร่ หน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ถ้าเกินคือล้นตลิ่ง
ผมดูของวันนี้ (9 ตค.54) 26.85 ม.(ล้นตลิ่ง 65 ซม.) 4,650 ลบ.ม./วินาที (ล้นตลิ่ง 1,150 ลบ.ม./วินาที)
น้ำจากจุด C2 นครสวรรค์นี้ ใช้เวลาประมาณ 5 วัน ถึงกรุงเทพฯ
ดูที่ บางไทร อยุธยา ปริมาณน้ำวันนี้ 3.82 ม. 3,323 ลบ.ม./วินาที
น้ำจากจุดนี้ใช้เวลาประมาณ 2 วันถึงกรุงเทพฯ
เราจะพอประมาณการได้คร่าว ๆ ถ้าน้ำเหนือล้นมาก ๆ เช่นจุด C2 ล้นมากๆ ก็เตรียมตัว
อีกจุดที่ดูพอให้รู้แต่ถ้าสูงมากก็ไม่ทันแล้วคือปริมาณน้ำที่สะพานพุทธ
ที่เวิร์คน่าจะเป็นเวปนี้ : http://dds.bangkok.go.th/Canal
หา pk01 ปากคลองตลาด ตอนที่ดู 1.91 ม. (ขึ้นลงตลอดเวลา)
ระดับเตือนภัย 2 ม. ระดับที่ กมท.รับไหว 2.50 ม. จะได้รู้ว่าตอนนี้สูงเท่าไหร่แล้ว และเหลืออีกเท่าไหร่รับไม่ไหว
ที่สำคัญน่าจะไปถามดูว่าพนังกั้นที่เรามั่นใจว่ากั้นน้ำได้สูงกี่เมตร อย่าลืมว่าทุกที่ก็กั้นเหมือนกัน
ทำให้น้ำพุ่งแรงเพราะไม่มีที่ไป
เวปนี้ท่าทีดีมากแต่ไม่ได้เรื่องไม่อัปเดท :http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/chaopraya_scada/chaopaya_scada.php
นอกจาก 3 จุดดังกล่าว ที่เราพอจะนำมาเป็นข้อมูลเตรียมตัวได้
ยังมีปัจจัยอื่นอีก ที่จะทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯคือ
1.น้ำจากเขื่อน (ก็จะมาลงที่
แม่น้ำเจ้าพระยาจุดต่าง ๆ นี่แหละ)
2.น้ำทะเลหนุน ซึ่งต้องติดตามจากทางการอย่างใกล้ชิด ที่เขาห่วงกันคือประมาณ 13-18 ตค. 2554
หรือดูที่เวป : http://water.rid.go.th/flood/tide/tide.html
3.ฝน ทั้งจากความกดอากาศต่ำ และ พายุ
ข้อมูลโดยรวมถ้าไม่มีพื้นฐานอาจงง ๆ ดูเวปนี้ : http://water.rid.go.th/flood/plan_ew/plan_ew.html
อย่างไรก็ตามถ้าไม่ว่างหรือขี้เกียจดูข้อมูลเองก็สามารถโทรฯสอบถามเรื่องเหล่านี้ได้ที่
สายด่วน 1460
แหล่งข้อมูลที่ควรตาม ใช้ภาษาง่าย ๆ อีก 2 ที่ คือ
1.
FACEBOOK สายด่วนกรมชลประทาน
http://www.facebook.com/profile.php?id=100001793825721
2.FACEBOOK เรารักชลประทาน
http://www.facebook.com/raorukcholpratan
เวปที่ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเยอะ(จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมา ปีที่แล้วคำนวณว่าอุบลฯจมน้ำหนัก ทั้งที่ตัวเลขจริงไม่ใช่ แล้วก็ไม่ใช่จริง ๆ ปีนี้หนักกว่าอีก) คือข้อมูลจาก GISTDA
เพราะใช้ข้อมูลดาวเทียมมาประมวลใน
คอมพิวเตอร์ มีปัจจัยเยอะไม่ใส่ลงไปเลยเพี้ยน
(ตอนนี้อาจหายเพี้ยนแล้วก็ได้)
จบข่าว
+++++++++++++++++++++++++++++
ข้อมูลข้างล่างนี้อ่านก็ได้ไม่อ่านก็ได้ ถ้าขี้เกียจก็ไม่ต้องอ่านครับ
ประเด็นที่สนใจคือคำพูดของ นายกรัฐมนตรีที่ว่า"ต้องยอมรับว่าสถานการณ์น้ำท่วม ในขณะนี้รุนแรงและหนักมากกว่าทุกปีโดยเฉพาะปริมาณน้ำที่มีเพิ่มมากขึ้น และมีความรุนแรงเทียบเท่าเมื่อครั้งอุทกภัยครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2538 ที่กรุงเทพมหานครต้องจมน้ำและเสียหายอย่างรุนแรง...
"ขณะนี้เป็นสิ่งที่น่ากังวลคือกำลังจะมีมวลน้ำก้อนใหญ่ประมาณ 7,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลลงมาจากภาคเหนือตอนบน ผ่าน จ.สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลกและกำลังจะเข้าสู่นครสวรรค์ ซึ่งหากยังไม่สามารถบริหารจัดการระบายน้ำที่มีอยู่ลงทะเลให้มากที่สุดและเร็วที่สุดได้แล้ว จะสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ ที่น้ำไหลผ่านเป็นบริเวณกว้าง..."
และคำพูดของ
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์ ว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำในภาพรวมอยู่ในภาวะวิกฤติ ซึ่งมีปริมาณน้ำมากกว่าปีที่แล้วเฉลี่ย 48%
เมื่อตรวจสอบข้อมูลพบว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพฯเพราะ
การปล่อยน้ำจากเขื่อน+น้ำเหนือ+น้ำทะเลหนุน+ร่องความกดอากาศต่ำ+พายุ
ไปดูการปล่อยน้ำจากเขื่อน ปริมาณน้ำที่เขื่อน ภูมิพล+สิริกิต์+แควน้อยฯ+ป่าสักชลสิทธิ์ ระบายลงเจ้าพระยา อยู่ที่ 268.37ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน http://water.rid.go.th/flood/flood/daily.pdf
ปล่อยมาตั้งแต่วันที่ 5 ตค.และเกิดผลกระทบอย่างที่เราเห็น กี่วันก็ลองคูณเข้าไปและเผื่อ ๆ น้ำไหลไปเที่ยว
น้ำเหนือ 7 พันล้านลูกบาศก์เมตรเป็นข้อมูลจาก ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการส่วนอุทกวิทยา กรมชลประทาน
เป็นน้ำที่ไม่ได้รวมน้ำจากเขื่อนดังกล่าวด้วย
น้ำทะเลหนุน อธิบดีกรมชลประทานคาดการณ์จะมีน้ำทะเลหนุนในวันที่ 13-18 ตค. 54 ต้องติดตามต่อไป
ร่องความกดอากาศต่ำและพายุ ต้องติดตามรายวัน
ข้อมูล ปี 2538 ซึ่งนายกฯอ้างถึง จากการเปิดเผยของนายวีระ วงศ์แสงนาค ที่ปรึกษาอธิบดีกรมชลประทาน
พบว่าวันนี้ ที่จ.ปทุมธานี และ จ.นนทบุรี ทุบสถิติปี 38 แล้ว
ปี 2538 ปริมาณน้ำสูงสุดที่ จ.ปทุมธานีอยู่ที่ 3.17 เมตร ปีนี้อยู่ที่ 3.21 เมตรแล้ว
ส่วน จ.นนทบุรี ปี 2538 ปริมาณน้ำสูงสุดอยู่ที่ 2.33 เมตร ปีนี้อยู่ที่ 2.56 เมตรแล้วเช่นกัน
(ข่าวสด : http://bit.ly/q0VF7f)
ภาวนาให้รอดพ้นภัยพิบัติครั้งนี้
2554-10-09
http://www.oknation.net/blog/suchai/2011/10/10/entry-1