หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: " ดูซีรี่ย์จีนเรื่อง จางจวี่เจิ้ง..แล้วตกใจ มันช่างหมือนเมืองไทยซะจริง ๆ...!!!!"  (อ่าน 1065 ครั้ง)
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« เมื่อ: 12 เม.ย. 11, 17:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
ดูซีรีย์จีนเรื่อง จางจวีเจิ้ง จบแล้ว ตกใจมาก เรื่องแบบนี้มันเหมือนมาเกิดกับบ้านเราจริง ๆ


จางจวีเจิ้งเป็นขุนนางจีน สมัย ราชวงค์หมิง
คุณทักษิณเป็นนักการเมืองไทยยุคปัจจุบัน
จางจวีเจิ้งได้ขึ้นมาเป็นมหาอำมาตรโดยมีข้อครหา
คุณทักษิณได้เป็นนายกก็ด้วยวิธีที่มีข้อครหาบ้าง
จางจวีเจิ้งเป็นมหาอำมาตรตอนประเทศจีนทรุดโทรม
คุณทักษิณเป็นนายกตอนประเทศเป็นหนี้ IMF
จางจวีเจิ้งได้ล้างระบบราชเก่าแบบเก่าปฏิรูบระบบราชการให้มีความก้าวหน้า
คุณทักษิณได้ล้างระบบราชการแบบเก่าและปฏิรูบรระบบราชการในแบบเดียวกัน
จางจวีเจิ้งได้สร้างขุนนางและดึงพักพวกของตนเข้าบริหารประเทศ
คุณทักษิณได้ดึงพักพวกตัวเองเข้ามาบริหารประเทศเช่นกัน
จางจวีเจิ้งได้สร้างระบบเศรษฐกิจที่ดีให้กับประเทศ
คุณทักษิณได้สร้างระบบเศรษฐกิจที่ดีให้กับประเทศ
จางจวีเจิ้งในการทำงานได้สร้างศัตรูไว้เยอะมาก
คุณทักษิณในการทำงานได้สร้างศัตรูไว้เยอะมาก
จางจวีเจิ้งก็ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ในการทำงาน
คุณทักษิณก็มีข้อผิดพลาดบ้างเช่นเดียวกัน
จางจวีเจิ้งได้พัฒนาประเทศจีนรุดหน้าไปมากทำให้ประชาชนรัก
คุณทักษิณได้พัฒนาประเทศไทยรุดหน้าไปมากทำให้ประชาชนเลือกมาเป็นนายกสมัยที่ 2
จางจวีเจิ้งโดนกลั่นแกล้งจนเสียชีวิต และโดนตามยึดทรัพย์ด้วยข้อกล่าวหาคอรัปชั่น
คุณทักษิณโดนรัฐประหารจนอยู่ในประเทศไม่ได้ และโดนตามยึดทรัพย์ด้วยข้อกล่าวหาคอรัปชั่น

จางจวีเจิ้งอาจจะไม่ใช่ขุนนางที่สะอาดหมดจดแต่สิ่งที่เขาทำไว้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองมาก
คุณทักษิณอาจจะไม่ใช่นักการเมืองมือสะอาดแต่เขาก็พัฒนาประเทศไว้มากเช่นเดียวกัน

หลังจากสิ้นยุคจางจวีิเจิ้งประเทศจีนก็ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ เพราะมีแต่ขุนนางโกงกิน
หลังจากสิ้นยุคคุณทักษิณ ก็เห็น ๆ กันอยู่นะครับ

" ในการเมืองคนดีมักจะจบไม่ดี "
ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย


จากคุณ : ต้นเอง : 12 เม.ย. 54

หากปล่อยให้กังฉินครองเมือง...ประชาชนก็จะต้องทุกข์ยากลำบากแสนเข็ญกันต่อไป....!!!!!!! q*020q*005q*00q*00q*011q*015

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 เม.ย. 11, 20:29 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
จาง จวีเจิ้งจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
บทความนี้ใช้ระบบปีคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงถึงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง



จาง จวีเจิ้ง

มหาอำมาตย์แห่งต้าหมิง
(อัครมหาเสนาบดีคนที่ 47 แห่งต้าหมิง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1572 – ค.ศ. 1582
(10 ปี )
สมัยก่อนหน้า เกา ก่ง (จีน: 高拱; พินอิน: Gāo Gǒng)
สมัยถัดไป จาง ซื่อเหวย (จีน: 張四維; พินอิน: Zhāng Swi)


--------------------------------------------------------------------------------

เกิด 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1525
เทศมณฑลเจียงหลิง มณฑลหูเป่ย์
ถึงแก่อสัญกรรม 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1582
(57 ปี 46 วัน)
กรุงปักกิ่ง
ศาสนา พุทธ
จาง จวีเจิ้ง (จีนตัวเต็ม: 張居正; จีนตัวย่อ: 张居正; พินอิน: Zhāng Jūzhng; เวด-ไจลส์: Chang Ch-cheng) (ชาตะ: 24 พฤษภาคม [1] ค.ศ. 1525, เทศมณฑลเจียงหลิง มณฑลหูเป่ย์; มตะ: 9 กรกฎาคม [2] ค.ศ. 1582, กรุงปักกิ่ง; (57 ปี 46 วัน)) เป็นมหาอำมาตย์ (จีนตัวเต็ม: 內閣; พินอิน: Nig, เน้ย์เก๋อ; อังกฤษ: Grand Secretary) แห่งราชวงศ์หมิงของประเทศจีน ในรัชศกหลงชิ่งและว่านลี่

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 บทสนทนาเรื่องตำราสี่เล่ม
3 ในวรรณกรรม
4 ดูเพิ่ม
5 แหล่งข้อมูลอื่น
6 อ้างอิง

[แก้] ประวัติ
พระมหากาญจนมกุฏของว่านลี่ สำเนาจากของเดิมที่ขุดพบในสุสานหลวงจาง จวีเจิ้งได้เผชิญประสบการณ์ความผันผวนอันร้ายกาจทางการเมืองนับแต่เริ่มรับราชการเมื่ออายุยี่สิบหกปีในรัชศกหลงชิ่ง ซึ่งการปกครองอ่อนแอและเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างกว้างขวาง ก่อนจะไต่เต่าขึ้นมาตามตำแหน่งเรื่อย ๆ ต่อมาจาง จวีเจิ้งได้ร่วมมือกับมหาอำมาตย์เกา ก่ง (จีน: 高拱; พินอิน: Gāo Gǒng) ในการบริหารราชการร่วมกัน ก่อนจะหันไปร่วมมือกับมหาขันทีชื่อ เฝิง เป่า (จีน: 馮保; พินอิน: Fng Bǎo) เพื่อบีบบังคับให้เกา ก่งออกจากราชการกลับไปยังบ้านเกิด และจาง จวีเจิ้งก็เข้าสวมตำแหน่งมหาอำมาตย์แทน

แม้จะได้ตำแหน่งมาโดยวิธีการอันมิชอบ ทว่า การบริหารอย่างประเสริฐ และรัฐประศาสโนบายอันเข้มแข็งด้านการต่างประเทศและเศรษฐกิจ ซึ่งจาง จวีเจิ้งดำเนินไปในระยะเวลาสิบปีของการอยู่ในตำแหน่งมหาอำมาตย์นั้น ส่งผลให้ยุคสมัยของเขารุ่งเรืองที่สุดในราชวงศ์หมิง จาง จวีเจิ้งเป็นที่ขึ้นชื่อในเรื่องการรวมศูนย์อำนาจการปกครอง การจำกัดเอกสิทธิ์ของชนชั้นสูง และการสำรวจที่ดินเพื่อปฏิรูประบบภาษี ในบั้นต้นรัชศกว่านลี่ซึ่งเสวยราชย์แต่ทรงพระเยาว์นั้น จาง จวีเจิ้งยังปฏิบัติหน้าที่สำคัญหลายประการ ทั้งเป็นพระอาจารย์ของพระมหากษัตริย์ และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นอาทิ ในฐานะพระอาจารย์นั้น จาง จวีเจิ้งมีอิทธิพลต่อพระมหากษัตริย์ และพยายามประคับประคองพระมหากษัตริย์ตลอดพระชันษาอันเยาว์วัยให้ตลอดรอดฝั่ง ทว่าเมื่อว่านลี่เจริญพระชันษาขึ้น กลับทรงเบื่อหน่ายและมีพระราชหฤทัยรังเกียจจาง จวีเจิ้งขึ้นโดยลำดับ เหตุว่ามีพระราชสันดานใฝ่ในกามราคะ และมีพระราชประสงค์จำนงหมายจะบริหารอำนาจการปกครองโดยลำพัง ขณะที่จาง จวีเจิ้งกลับคอยกวดขันพระราชจริยวัตรเป็นอาจิณ นอกจากนี้ จาง จวีเจิ้งยังมิอาจควบคุมรายจ่ายของราชสำนัก เหตุว่าว่านลี่ทรงใช้พระราชทรัพย์เปลืองไปในทางปรนเปรอพระองค์เป็นอันมาก [3] [4]

เมื่อจาง จวีเจิ้งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1582 อันเนื่องมาจากความเหนื่อยล้าที่ทุ่มเทเพื่อแผ่นดินจนมิได้พักผ่อนติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ส่วนการปฏิรูปของจาง จวีเจิ้งที่กำลังไปได้ก็ดีนั้น ว่านลี่ก็มีพระราชโองการให้ยกเลิกบ้าง และไม่ทรงนำพาบ้าง ทั้งยังไม่ทรงปฏิบัติพระราชกิจเช่นที่เคย ไม่ทรงออกว่าราชการมากขึ้นโดยลำดับ กลับทรงแสวงแต่จะสำราญพระราชหฤทัย ทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์อย่างสุรุ่ยสุร่าย และขูดรีดประชาชนอย่างกว้างขวาง จนส่งผลให้ราชวงศ์หมิงล่มสลายอย่างช้า ๆ

อนึ่ง เมื่อจาง จวีเจิ้งถึงแก่อสัญกรรมแล้วไม่ถึงสองปีนั้น ว่านลี่ก็มีพระราชโองการให้ถอดยศจาง จวีเจิ้งย้อนหลัง ให้ทำลายป้ายเกียรติคุณและผลงานต่าง ๆ ของจาง จวีเจิ้ง ให้ประหารตระกูลจางทั้งตระกูล และให้ริบราชบาตรเสียสิ้น [3]

จนเมื่อเกือบครึ่งศตวรรษหลังจากนั้น ในรัชสมัยฉงเจิน ผู้ทรงพระราชอุตสาหะจะกอบกู้บ้านเมืองที่กำลังล่มจมลงอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปกครองอันเหลวแหลกโดยพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ หน้า ฉงเจินได้ทรงพระอนุสรถึงจาง จวีเจิ้ง และได้มีพระราชโองการให้คืนเกียรติยศทั้งปวงให้แก่จาง จวีเจิ้ง ให้อนุรักษ์บ้านพักที่เขาเคยอาศัยในมณฑลหูเป่ย์ และให้สร้างรูปเคารพของเขาไว้หน้าบ้าน ซึ่งปัจจุบันจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจาง จวีเจิ้ง [5]

[แก้] บทสนทนาเรื่องตำราสี่เล่มใน ค.ศ. 1573 จาง จวีเจิ้งได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแก่ว่านลี่ซึ่งอรรถกถาตำราคำสอนขงจื๊อสี่เล่ม ขนานชื่อว่า "บทสนทนาเรื่องตำราสี่เล่ม" (จีน: 四书直解; พินอิน: Si Shu Zhijie; อังกฤษ: Colloquial Commentary on the Four Books) และอรรถกถาของจาง จวีเจิ้งได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในระหว่าง ค.ศ. 1573 ถึง ค.ศ. 1584

เมื่อจาง จวีเจิ้งถึงแก่อสัญกรรมแล้ว อรรถกถาดังกล่าวรอดพ้นจากการถูกล้างผลาญตามพระราชโองการของว่านลี่ และได้รับตีพิมพ์เผยแพร่อีกในราว ๆ ค.ศ. 1651 ถึง ค.ศ. 1683 ผู้อ่านต่างยกย่องว่าเป็นหนังสือดีอย่างประเสริฐเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน [6]





" คนดีมาก แต่ชั่วน้อย ย่อมไม่เปนที่ต้องประสงค์ของคนดีน้อย แต่ชั่วมาก เป็นธรรมดา..."

นี่เป็นสัจจธรรมของโลกมนุษย์ ...ในยุคที่จริยธรรมเสื่อมถอย...!!!!!
q*020q*020q*011q*005q*015q*015q*00
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
nickna
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 เม.ย. 11, 13:07 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

จริงแต่ไม่จริง
ประชาชนรักทั้งประเทศแต่ทำยังไงให้ประชาชนเกลียดครึ่งประเทศ
การลุแก่อำนาจกล้าพูดว่าถ้าจังหวัดไหนเลือกเขาเขาจะช่วยก่อนมันแสดงนิสัยแย่ๆของผู้บริหารประเทศ รับไม่ได้กับความคิดแบบนี้จริงๆเฮ้อ นักการเมืองมีคนดีด้วยเหรอพึ่งจะรู้

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม