คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกำลังมีอาการโคลิคอยู่หรือไม่ คุณ
แม่จะสังเกตอาการโคลิคได้จาก อาการหน้าแดง กำมือแน่น ลูกชูขาสูงขึ้นมาถึงหน้าอก พร้อมกับร้องเสียงดังนาน 2 - 3 ชั่วโมง และส่วนใหญ่มักเป็นหลังกินนมประมาณ 15 นาที หรือเวลาอื่นๆ ในช่วง อายุ 2-3 สัปดาห์แรก และอาการโคลิคก็มักจะหายไปเองเมื่อลูกน้อยอายุได้ประมาณ 3 เดือน
อะไรเป็นสาเหตุของอาการโคลิค สาเหตุของอาการโคลิคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่อาจมีความเกี่ยวข้องอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยหนึ่งก็คือ มีอากาศเข้าไปในท้องลูกมากเกินไปโดยไม่ได้เรอออกมา ท้องของลูกจึงอัดแน่นไปด้วยลมซึ่งทำให้ลูกรู้สึกปวดท้อง อีกปัจจัยหนึ่งก็คือลำไส้ของลูกน้อยกำลังทำ
งานหนักเกินไปเพื่อจะขับของเสียออกและเริ่มเป็นตะคริว
คุณแม่จะช่วยลูกน้อยที่มีอาการโคลิคได้อย่างไร คุณแม่สบายใจได้เลยว่าอาการโคลิคของลูกนั้นไม่ใช่อาการถาวร และจะหายไปเองในไม่ช้า เพียงแต่บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่คุณแม่จะต้องฟังเสียงร้องไห้เป็นเวลานานทุกๆ วัน ลองดูเคล็ดลับในการปลอบลูกน้อยที่กำลังร้องโคลิค เพื่อจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้บ้าง

อาบน้ำอุ่นให้ลูกน้อย แล้วเอาผ้าห่อตัวลูกไว้ให้อบอุ่น

นวดท้องให้ลูกอย่างนุ่มนวล โดยนวดตามเข็มนาฬิกา

ปรึกษากุมารแพทย์หรือพยาบาลแผนกเด็ก หากต้องการทราบเทคนิคต่างๆ ในการทำให้ลูกเรอ

ขยับขาให้ลูกโดยหมุนเป็นวงกลม

โยกตัวลูกไปมาเบาๆ หรือพาลูกขึ้นรถเที่ยว การเคลื่อนไหวจะช่วยให้ลูกน้อยสงบลง

นมสำหรับทารกบางชนิดจะมีสูตรพิเศษเพื่อช่วยให้นมย่อยได้ง่ายขึ้นและมีอึที่นุ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการไม่สบายจากอาการย่อยยากของลูกได้
นมชนิดนี้ยังสามารถป้องกันไม่ให้ลูกกินลมเข้าไปในระหว่างการกินนมมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการจุกเสียดได้
หากคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษากุมารแพทย์หรือพยาบาลแผนกเด็กของคุณแม่ ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dumex.co.th/feeding_and_nutrition/feeding_problems_and_allergies/article/colicky_baby