ข่าว
ดูดวง-ตรวจหวย
ไลฟ์สไตล์
บันเทิงครบรส
ความรู้รอบตัว
ค้นหา ตรวจหวย ข่าว อีเมล์ ดูทีวีออนไลน์ ฟังเพลงออนไลน์ คลาสสิฟายด์ ริงโทน เกมส์ ดูทั้งหมด »
อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า "ทำราชการ"
ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้ บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า"อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก"
ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะคุณติดต่อกันหลายปี
รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6ล้านคน
. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
รักในหลวงที่สุด
ในหลวงพ่อของคนไทย
เรารักในหลวง ทรงพระเจริญ
รัดพ่อเท่าชีวิต ในหลวงของเรา
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาดังนี้ กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อ ความมั่นคง และความยั่งยืน ของการพัฒนา คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นการฟื้นฟูฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชน เมือง ประเทศโดยอาศัยหลักการพึ่งตนเอง ดังนี้ ด้านจิตใจ ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ด้านสังคม ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และ ที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดรอบครอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิต อย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตภาพและฐานะของตน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือเงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบครอบที่จะนำความรู้เหล่านี้มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
ถ้าไม่มี เศรษฐกิจพอเพียง เวลาไฟดับ..จะพังหมดจะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.... ...หากมี เศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ให้ปั่นไฟ หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ ...ฉะนั้น เศรษฐกิจพอเพียงนี้ก็มีเป็นขั้น ๆ แต่จะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้องเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ..พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้คือ ให้สามารถที่จะดำเนินงานได้” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542
หลักแนวความคิดของเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบครอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ
วิถีชีวิตและเศรษฐกิจทางสายกลางในทุกระดับพอเพียง คือ การบริโภคและการผลิตอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณและเหตุผลไม่ขัดสนแต่ไม่ฟุ่มเฟือยสมดุล คือ การพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมมีความสมดุลระหว่างโลกาภิวัฒน์ (Globalization) กับอภิวัฒน์ท้องถิ่น (Local-ization) มีความสมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจกับการเงินและภาคคนกับสังคมมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โครงสร้างการผลิตที่สมดุลมีการผลิตหลากหลายใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน คือพอเพียงอย่างต่อเนื่องในทุกด้านโดยเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภูมิคุ้มกันที่ดีระบบเศรษฐกิจกับสังคมมีความยืดหยุ่นที่สามารถก้าวทันและพร้อมรับต่อกระแสโลกาภิวัตน์ตลอดจนปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
การบริหารจัดการที่ดีซึ่งสามารถป้องกันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (วิกฤต)ได้คุณภาพคน โดยการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจทางสายกลางได้ คนต้องมีคุณภาพในด้านต่างๆ ดังนี้ คือพื้นฐานจิตใจ มีความสำนึกในคุณธรรมซื่อสัตย์สุจริต มีไมตรี มีความเมตตาหวังดีให้กันและกันหลักการดำเนินชีวิตมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาคิดอย่างรอบคอบก่อนทำ มีวินัยภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต มีสุขภาพดีและมีศักยภาพ ทักษะและความรอบรู้อย่างเหมาะสมในการประกอบอาชีพและหารายได้อย่างมั่นคงและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่องฐานคิดในการพัฒนาเพื่อความพอเพียง
ยึดแนวพระราชดำริในการพัฒนา “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามขั้นตอน “ทฤษฎีใหม่”สร้าง “พลังทางสังคม” โดยการประสาน “พลังสร้างสรรค์” ของทุกฝ่ายในลักษณะ “พหุภาคี” อาทิ ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ธุรกิจเอกชน สื่อมวลชน ฯลฯ เพื่อใช้ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชน
1.ขอทรงพระเจริญด้วยพระจตุรพิธพรชัยและพระราชสิริสวัสดิ์ทุกประการ2.ในหลวงพระองค์ทรงงาน หนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์ให้เป็นสุข3.พระมหากษัตริย์ ที่พรั่งพร้อมด้วย ทศพิธราชธรรม4.ทรงเตือนสติด้วยการปฏิบัติพระองค์เป็นตัวอย่าง5.ทรงสร้างค่านิยมทรงห่วงใยประชาราษฎร์ทุกเมื่อ6. ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน7.ทรงสระหยาดพระเสโทเพื่อประชาชนและประเทศไทยอย่างแท้จริง8.รวมใจภักดิ์ รักในหลวง9.ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ของพ่อหลวง10.ไทยเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำ11. พระองค์ทรงมีแนวทางพระราชดำริในการพึ่งตนเองเพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างอิสระ มั่นคงและสมบูรณ์ 12. ในหลวงพระองค์ทรงหลั่งหยาดเหงื่อเพื่อคนไทย ให้มีความผาสุก13. ถ้าเราไม่เคารพรักในสถาบันชาติแล้ว ความปั่นป่วนระส่ำระสายก็จะเกิดตามมา14. เราก็จะรักษาแผ่นดินอันเป็นที่รักยิ่งและหวงแหนของเราไว้15. เราจงน้อมนำราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ16. ข้าพเจ้าจะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ยิ่งชีพ17. ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ พระพลานามัยแข็งแรง18. ขอบารมีแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน19 ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน20. กษัตริย์ ผู้ทรงธรรม พระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ ชาวไทย
ล่าสุด ทางสหประชาชาติ นำโดย โคฟี อันนัน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ยูเอ็นยกย่องว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ซึ่งทรงริเริ่มปรัชญาสำคัญๆไว้มากมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการชื่นชมไปทั่วโลก และมีหลายประเทศนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนา
ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ทรงพระราชทานปรัชญาสำคัญแก่ประชาชนชาวไทย นั่นคือ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำรงชีพอย่างพอเพียง โดยยึดหลักทางสายกลาง
โครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ทรงคิดค้นเพื่อระบายน้ำท่วมขัง และกักน้ำไว้ใช้ในยามแห้งแล้ง
) โครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ทรงคิดค้นเพื่อระบายน้ำท่วมขัง และกักน้ำไว้ใช้ในยามแห้งแล้ง
ชาวบ้านจำนวนมากทุกข์ทรมานจากโรคฟัน จึงทรงให้จัดตั้งหน่วยทันตแพทย์เคลื่อนที่
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาล ที่ปากทางเข้าเขตพระราชฐานเกือบทุกแห่ง โดยไม่คิดค่ารักษา
ในปี ๒๕๓๕ องค์การอนามัยโลก ได้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญเทิดพระเกียรติ ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านสุขภาพอนามัยเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง
โครงการพระดาบส เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จัดตั้งขึ้นปี ๒๕๑๙ เพื่อให้การศึกษาแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ วัย และวุฒิการศึกษา
) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามภูมิภาคต่างๆ รวม ๖ แห่ง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชนบท
โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกตั้งขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๕ ณ บ้านหนองแคน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ทรงริเริ่มโครงการเพื่อการศึกษาไว้มากมาย โดยทรงตั้งทุนภูมิพลพระราชทานทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนทุนเล่าเรียนหลวง ริเริ่มขึ้นในสมัย ร.๕ และยกเลิกไปเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังทรงรื้อฟื้นขึ้นใหม่ ในปี ๒๕๐๘ เพื่อส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ นำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมือง
เนื่องจากทรงห่วงใยพสกนิกรที่ต้องทนทุกข์จากการอาศัยในถิ่นทุรกันดารขาดแคลนน้ำ จึงทรงริเริ่มโครงการฝนหลวง โดยทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าครั้งแรก ที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ เมื่อปี ๒๕๑๒
) โครงการหลวง เป็นโครงการที่ทรงริเริ่มขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๒ เพื่อช่วยเหลือชาวเขาทางภาคเหนือให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เลิกปลูกฝิ่นและหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจแทน
จนถึงปัจจุบัน มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้วเกือบ ๓ พันโครงการ มีทั้งเรื่องการศึกษา, สิ่งแวดล้อม, สาธารณสุข, สวัสดิการสังคม และชลประทาน
ทรงริเริ่มโครงการนาข้าวทดลอง ในบริเวณสวนจิตรลดา จากนั้นทรงริเริ่มโครงการโรงโคนม จัดตั้งเป็นโรงโคนมสวนจิตรลดา เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การเลี้ยงโคนมอย่างถูกวิธี
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ โครงการสร้างถนนเข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี