หลายครั้งที่ทริปการเดินทางท่องเที่ยวจำเป็นต้องใช้การเดินทางที่สนามบินเพื่อช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางให้สั้นลง และลดทอนความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากการเดินทางได้แม้จะเป็นเพียงการเดินทางแค่ในประเทศก็ตาม (คำแนะนำการเตรียมตัวก่อนการเดินทาง https://www.smk.co.th/newsdetail/144) แต่ทราบหรือไม่ว่า การเดินทางโดยสารด้วยเครื่องบินมีข้อกำหนดหลายประเด็นที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน แม้แต่เรื่องคำพูดที่ใช้ในสนามบินก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้โดยสารควรให้ความใส่ใจ จะมีคำไหนบ้างที่เป็นคำต้องห้ามพูดเมื่ออยู่ในอาณาเขตของสนามบิน
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (https://www.airportthai.co.th/th/) ได้ให้ข้อมูลที่เป็นการกระทำที่เป็นความผิดต่อกฎหมาย ทั้งคำพูด ลักษณะท่าทาง หรือการสื่อสาร ไว้ดังนี้
1.คำพูดที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เป็นเหตุให้ผู้อื่นตื่นตกใจ
•ระเบิด (Bomb, Explosive) เช่น พูดว่า มีระเบิด, เปิดกระเป๋าระวังเจอระเบิด, จะระเบิดสนามบิน, จะระเบิดเครื่องบิน ซึ่งคำนี้ถือเป็น คำพูดต้องห้ามในสนามบิน และในเครื่องบินที่ไม่ควรพูดเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นกฎสากลที่ปฏิบัติกันทั่วโลกที่ทุกคนต้องรู้และปฎิบัติตาม หากเกิดหลุดพูดประโยคนี้ขึ้นมา เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการขั้นสูงสุดได้เลยทันที หรือกัปตันสามารถสั่งหยุดการเดินทาง นำเครื่องลงจอดเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย และอาจทำให้เที่ยวบินดีเลย์ ถือเป็นความเสียหายต่อส่วนรวมได้เลยทีเดียว
•การก่อการร้าย (Terrorist Attack) เช่น นี่คือการก่อการร้าย, นี่คือการจี้เครื่องบิน เป็นคำพูดต้องห้ามในสนามบินและบนเครื่องบิน เกี่ยวกับเรื่องการก่อการร้ายเป็นสิ่งที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรนำมาพูดเล่นๆ เพราะการก่อการร้ายเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าเผลอพูดออกไป อาจจะโดนเจ้าหน้าที่ตรวจค้นและถูกจับได้
•จี้เครื่องบิน ปล้นเครื่องบิน (Hijack) เช่น พูดว่า นี่คือการจี้เครื่องบิน, Hijack หรือการขู่ว่ามีอาวุธและวัตถุอันตราย อย่างเช่น ปืน มีด หรือสารอันตราย ก็เป็นอีกคำพูดหนึ่งที่ไม่ควรพูดออกมา เพราะความปลอดภัยของการบินนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เข้มงวดมาก ถ้าคุณเผลอพูดออกไป ไม่ว่าจะพูดเล่นๆ หรือไม่ได้ตั้งใจ เจ้าหน้าที่อาจจะดำเนินการกับคุณในฐานะบุคคลต้องสงสัยได้ทันที
2.คำพูด เขียนข้อความ หรือการกระทำอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่พิจารณาว่าคุกคาม ข่มขู่ หรือเป็นภัย
•พูดว่า ตรวจได้แต่ระวังเชื้ออีโบลา เนื่องจากโรคระบาดร้ายแรง เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรพูดถึงในขณะการเดินทาง หรือแสดงการกระทำเหมือนว่า กำลังติดโรคระบาด ไม่ว่าจะระหว่างการตรวจในสนามบินหรือบนเครื่องบิน เนื่องจากความปลอดภัยของการบินนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เข้มงวดมาก โดยเฉพาะโรคที่สามารถติดต่อได้ทางอากาศ เพราะนอกจากจะสร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสารคนอื่นแล้ว อาจจะถูกส่งตัวไปตรวจหาโรคที่โรงพยาบาลอีกด้วย
•ตะโกนว่า เครื่องบินลำนี้กำลังจะตก
•เขียนคำว่า “ระเบิด” ไว้ที่กระจก
•โยนกระเป๋าหรือสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ กลุ่มผู้โดยสาร หรือผู้ใช้บริการแล้ววิ่งหนี เนื่องจากการกล่าวคำหยาบคายที่แสดงถึงความเกรี้ยวกราด โมโห รวมทั้งคำทะลึ่งนั้นสามารถก่อให้ความรำคาญและทำให้รู้สึกไม่สบายใจกับผู้โดยสารท่านอื่นได้ โดยเฉพาะการพูดด้วยน้ำเสียงหรืออารมณ์ที่รุนแรงต่อพนักงานภาคพื้นหรือบนเครื่องบิน เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัว และนำตัวคุณไปสงบสติอารมณ์ได้ รวมถึงไม่ควรแสดงการกระทำให้ดูต้องสงสัย เช่น การโยนกระเป๋าใส่เจ้าหน้าที่หรือกลุ่มผู้โดยสารแล้ววิ่งหนี
พูดคำต้องห้ามในสนามบินมีโทษอย่างไร?
1.บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 มาตรา 22 ระบุว่า ผู้ใดแจ้งข้อความหรือส่งข่าวสารซึ่งรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ และการนั้นเป็นเหตุหรือน่าจะเป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่ในท่าอากาศยานหรือผู้ที่อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินตื่นตกใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานในระหว่างการบิน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-15 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 – 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.บทลงโทษสำหรับผู้ร่วมฝ่าฝืน
ทั้งนี้บทลงโทษของความคึกคะนองไม่ได้ถูกจำกัดแค่คนที่กระทำความผิดข้างต้นเท่านั้น เพราะคำพูดต้องห้ามในสนามบิน หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้สนับสนุน ร่วมกันเป็นกลุ่มแก๊งตามความคึกคะนอง ก็ถือว่าได้กระทำความผิดเทียบเท่าตัวการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558
•มาตรา 23 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 หรือมาตรา 22 ต้องระวางโทษ เช่นเดียวกับตัวการ
•มาตรา 24 ผู้ใดพยายามกระทำความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 หรือมาตรา 22 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำ
การโดยสารหรือใช้บริการสนามบินที่มีผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมากและหลากหลาย หากไม่ปฏิบัติตามกฎย่อมสร้างความเดือดร้อนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในด้านภาพลักษณ์และความมั่นคง คำพูดต้องห้ามในสนามบินจึงเป็นเรื่องที่ต้องควบคุมและระวางโทษทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันเหตุบานปลายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ประกันภัยการเดินทาง คุ้มครองทั้งผู้เอาประกันภัยที่เดินทางรายเดี่ยวหรือเป็นหมู่คณะทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หรือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีกำหนดการเดินทางที่แน่นอนโดยให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตลอดเวลา 24 ชั่วโมงในช่วงระยะเวลาเดินทาง สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/3 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com