มูลค่าการซื้อขายทั่วโลกจากยอดขายการประมูลงานวิจิตรศิลป์เพิ่มขึ้น 8.8% ในครึ่งปีแรกของปี 2022 แม้จะพบกับโควิด-19 อีกระลอกในจีน Artprice นับสถิติจำนวนธุรกรรมการประมูลทั่วโลกและสังเกตเห็นความสนใจผลงานจากศิลปินหลาย ๆ คนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ครึ่งปีหลังของศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 ซึ่งราคามีความผันผวนสูงมาก
4 ตัวชี้วัดสถานภาพของกิจกรรมการประมูลงานวิจิตรศิลป์ทั่วโลกในครึ่งปีแรกของปี 2022
thierry Ehrmann ประธานและผู้ก่อตั้ง Artmarket.com: "การศึกษาอย่างครอบคลุมถึงผลของการขายทอดตลาดเผยให้เห็นว่า มีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างนิวยอร์ก ลอนดอน และฮ่องกง การแข่งขันนี้ทำให้งานของศิลปินรุ่นใหม่มีราคาเฟ้ออย่างรวดเร็วถึงระดับที่มักพบเจอเฉพาะกับปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่เท่านั้น ในโอกาสของงาน Frieze London และ Paris+ (อย่างหลังจัดขึ้นโดย Art Basel) Artprice จะเผยแพร่รายงานพิเศษสำหรับงาน 'ศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (Ultra Contemporary)' โดยเฉพาะ ซึ่งคำนี้ใช้กับพลวัตที่เกิดขึ้นกับศิลปินอายุไม่ถึง 40 ปี เช่น Matthew Wong, Avery Singer และ Refik Anadol
การวิเคราะห์ของ Art Market ที่นำเสนอในรายงานครึ่งปีแรกของปี 2022 อาศัยผลการประมูลขายทอดตลาดของงานวิจิตรศิลป์ที่บันทึกโดย Artprice และเกี่ยวข้องเฉพาะกับงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพวาดเส้น ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ วิดีโอ ศิลปะจัดวาง พรมผนัง รวมทั้ง NFT และไม่รวมของเก่า ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมนิรนาม และเฟอร์นิเจอร์ ราคาทั้งหมดที่ระบุอยู่ในรายงานฉบับนี้อ้างอิงจากผลการขายทอดตลาด รวมค่าธรรมเนียมของผู้ซื้อ และสัญลักษณ์ $ หมายถึงดอลลาร์สหรัฐ
ตัวเลขสำคัญในครึ่งปีแรกของปี 2022
-รายได้จากการประมูลงานวิจิตรศิลป์ทั่วโลกแตะถึง $7,490 ล้าน
-ถือเป็นครึ่งปีแรกที่รุ่งเรืองที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของตลาดงานศิลปะเท่าที่เคยมีมา
-เพิ่มขึ้น 8.8% เทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2021
-ทำสถิติขายไป 326,000 ล็อตในครึ่งปีแรกของปี 2022 เทียบกับ 313,400 ล็อตในครึ่งปีแรกของปี 2021
-Christie เคาะผลประกอบการจากการประมูลงานศิลป์ที่ดีที่สุดตลอดกาลเป็นอันดับ 2 ที่มูลค่า $195 ล้าน
-อัตราการขายไม่ออกเพิ่มถึง 31% เทียบกับ 27% ในครึ่งปีแรกของปี 2021
-นิวยอร์กนับเป็นตลาดชั้นนำของโลกอย่างชัดเจนด้วยมูลค่าการซื้อขาย $3,270 ล้าน
-อันดับ 2 และอันดับ 3 ได้แก่ ลอนดอนเคาะราคาที่ $1,430 ล้านและฮ่องกงทำไป $610 ล้าน
-ตามมาติด ๆ คือตลาดศิลปะฝรั่งเศสสร้างรายได้ $518 ล้านและดึงดูดสถาบันนานาชาติเข้ามาไม่น้อย
-มูลค่าการซื้อขายของ Christie's และ Sotheby's คิดเป็น 38% ของมูลค่าการซื้อขายงานวิจิตรศิลป์ทั่วโลก
-Macklowe Collection กลายเป็นคอลเล็กชันที่ราคาแพงที่สุดที่เคยขายมาในโลก สร้างรายได้ $922 ล้าน
-มี NFT ขายไปในการประมูล 180 ชิ้นรวมมูลค่า $8.5 ล้าน
องค์กรและโครงสร้างของตลาดงานศิลป์
ในขณะที่วิกฤติทางสาธารณสุขยังคงครอบงำทั่วโลก การประมูลงานวิจิตรศิลป์มีตัวเลขอัตราการขายไม่ออกถึง 31% ซึ่งเท่ากับเกือบหนึ่งในสามของงานที่เสนอวางขาย ระดับนี้สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยที่คงที่มาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแกว่งอยู่ระหว่าง 36% ในปี 2009 และ 27% ในปี 2021 แน่นอนว่าตัวเลขชี้วัดที่สำคัญมีปฏิกิริยาที่ค่อนข้างแตกต่างกับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติการณ์ครั้งใหญ่ล่าสุดที่ส่งผลกระทบต่อตลาดงานศิลปะทั่วโลก นั่นก็คือ วิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2009 ย้อนกลับไปตอนนั้น นักสะสมตัดสินใจรับความเสี่ยงทางการเงินน้อยลง ในขณะที่วิกฤตด้านสาธารณสุขในปี 2021 กระตุ้นให้ผู้ซื้อสลับไปใช้ช่องทางการขายใหม่ที่อยู่ในโลกเสมือนมากขึ้น
ในครึ่งปีแรกของปี 2022 ตลาดพบจุดสมดุลของการอยู่ร่วมกันระหว่างช่องทางขายสองแบบที่แตกต่างแต่เติมเต็มกัน (ทางกายภาพและดิจิทัล) ซึ่งช่วยให้ธุรกรรมการประมูลยังดำเนินต่อไปได้เป็นอย่างดี จนทำลายสถิติการซื้อขายงานวิจิตรศิลป์ถึง 326,000 ล็อตในหกเดือน ในครึ่งปีแรกของปี 2022 ปริมาณซื้อขายนี้ยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปจนถึงระดับที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แม้จะมีการเลื่อนการประมูลออกไปหลายครั้งในจีน (ซึ่งมีปริมาณการซื้อขายลดลงถึง 53%) เนื่องจากโควิด-19 อีกระลอก
สหรัฐอเมริกา ( เพิ่ม 42% เทียบกับครึ่งปีแรกของ 2021) และสหราชอาณาจักร ( เพิ่ม 26%) เป็นแรงผลักดันการเติบโต ตลาดมหาอำนาจชาติตะวันตกสองประเทศเพียงกลุ่มเดียวก็คิดเป็นสัดส่วนถึงสองในสามของมูลค่าการประมูลงานวิจิตรศิลป์ทั่วโลกแล้ว สำหรับจีน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 12% ของมูลค่าการประมูลงานวิจิตรศิลป์ทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากฮ่องกง ซึ่งคิดเป็น 70% ของมูลค่าของตลาดงานศิลปะจีนทั้งหมด (รวมฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน)
ฝรั่งเศสยังเติบโตต่อไป (+14%) ถือเป็นอันดับที่ 4 นำหน้าเยอรมนี (-5%) หลังจากมีผลประกอบการที่น่าทึ่งในปี 2021 นอกจากที่มี Christie's และ Sotheby's ยังมีผู้จัดงานประมูลสัญชาติฝรั่งเศสอีกหลายรายซึ่งมีส่วนช่วยให้ผลประกอบการออกมาดีเป็นพิเศษ: Artcurial (+42%) และ Aguttes (+154%) เป็นต้น ในขณะเดียวกัน เมืองหลวงฝรั่งเศสเป็นที่น่าสนใจขององค์กรงานศิลปะนานาชาติมากมาย เช่น David Zwirner ในขณะที่แกลเลอรี Gagosian และ Continua ก็เข้ามาเปิดสถานที่ใหม่หลายแห่งในฝรั่งเศส ปารีสคงดีใจที่ Hauser & Wirth มีกำหนดเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ รวมถึงการเปิดห้องประมูลของ Phillips ด้วย Bonhams ยังเข้าซื้อกิจการของบริษัทฝรั่งเศส Cornette de Saint-Cyr (ดำเนินธุรกิจในปารีสและบรัสเซลส์) สุดท้าย ตั้งแต่นี้ไปบริษัท Art Basel จะเป็นผู้จัดงานอย่างเป็นทางการของงานแสดงศิลปะฤดูใบไม้ร่วงนานาชาติที่จัดขึ้น ณ Grand Palais ในปารีสที่ชื่อว่า Paris+ ซึ่งจะมาแทน FIAC
ญี่ปุ่นและสวิสเซอร์แลนด์ออกตัวในปี 2022 ได้ยอดเยี่ยม โดยมีมูลค่าการประมูลรวมเพิ่มขึ้น 74% และ 145% ตามลำดับ หากไม่มีคู่แข่งโดยตรงอย่างฮ่องกง (ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าถึงเจ็ดเท่า) โตเกียวจะมีจุดยืนในทวีปเอเชียเป็นศูนย์กลางของศิลปินร่วมสมัยชื่อดัง เช่น Andy Warhol, Yoshitomo Nara, Yayoi Kusama รวมถึงศิลปินรุ่นใหม่ เช่น Mr Doodle และ Ayako Rokkaku (เกิดในปี 1982) ซึ่งมียอดขายจากการประมูลเกิน $18.6 ล้านในปีนี้ ในส่วนนี้ สวิสเซอร์แลนด์ยังคงได้ส่วนแบ่งจุดยืนให้ตัวเองในตลาดงานศิลปะโพสต์-อิมเพรสชันนิสม์และโมเดิร์น โดยการขายผลงานสำคัญจากศิลปิน Ferdinand Hodler, Alberto Giacometti และ Marc Chagall
Ferdinand Hodler, Der Brienzersee von Breitlauenen aus (1906); ขายในราคา CHF 2,875,000 (ประมาณ $3 ล้าน) ในวันที่ 17 มิถุนายน 2022 โดย Galerie Kornfeld ในแบร์น
https://www.artprice.com/artist/13632/ferdinand-hodler/painting/27034374/der-brienzersee-von-breitlauenen- aus
แนวโน้ม : NFT และงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (ULTRA CONTEMPORARY)
หลังจากที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักในเดือนมีนาคมปี 2021 โดยมีผลการขายทอดตลาดครั้งแรกถึง $69.4 ล้าน NFT (non-fungible tokens หรือโทเค็นทดแทนไม่ได้) ได้สร้างสิ่งที่ถือเป็นการปฏิรูปตลาดงานศิลปะด้วยผลงานแบบใหม่ นักสะสมกลุ่มใหม่ และสกุลเงินใหม่