หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: "ฟอนดาซิโอเน่ ปราด้า" เปิดเวทีคุยเรื่องโรคความเสื่อมของระบบประสาท  (อ่าน 48 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 7 ก.ย. 22, 13:16 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

"ฟอนดาซิโอเน่ ปราด้า" เปิดเวที "HUMAN BRAINS: PRESERVING THE BRAIN - FORUM ON NEURODEGENERATIVE DISEASES"

"ฮิวแมน เบรนส์" (Human Brains) เป็นผลจากการศึกษาวิจัยอย่างล้ำลึกที่ฟอนดาซิโอเน่ ปราด้า (Fondazione Prada) ได้ดำเนินการไว้เมื่อปี 2561 ในสาขาประสาทวิทยาศาสตร์ โปรเจกต์ดังกล่าวประกอบด้วยการประชุมออนไลน์ที่เน้นเรื่องการศึกษาสติสัมปชัญญะ การเสวนาทางวิดีโอโดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักวิจัยจากทั่วโลก และนิทรรศการนำเสนอประวัติการศึกษาเกี่ยวกับสมอง ซึ่งขณะนี้เปิดให้เข้าชมอยู่ที่เมืองเวนิซไปจนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565

โปรเจกต์ "ฮิวแมน เบรนส์" เฟส 4 ในหัวข้อ "ดูแลสมอง การประชุมว่าด้วยโรคความเสื่อมของระบบประสาท" (Preserving the Brain - Forum on Neurodegenerative Diseases) จะประกอบด้วยนิทรรศการ (16 กันยายน ถึง 10 ตุลาคม 2565) และการประชุม (6 และ 7 ตุลาคม 2565) ที่อาคารฟอนดาซิโอเน่ ปราด้า สาขามิลาน

"ดูแลสมอง" มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนที่เปิดกว้างและมีความสำคัญระหว่างนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคเสื่อมของระบบประสาททั่วโลก ไม่ว่าจะในด้านโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ซึ่งพบได้มากแต่ยังรักษาให้หายขาดไม่ได้

มิวเซีย ปราด้า (Miuccia Prada) ประธานฟอนดาซิโอเน่ ปราด้า กล่าวว่า "สำหรับเราแล้ว โปรเจกต์เฟสนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทำให้เข้าใจผลกระทบที่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีต่อชีวิตประจำวันของเราได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นคว้าหาวิธีเยียวยารักษา นอกจากนี้ 'ดูแลสมอง' ยังสะท้อนให้เห็นความสำคัญของความร่วมมือและการแบ่งปันความรู้ภายในแวดวงวิทยาศาสตร์ การประชุมระดับนานาชาติครั้งแรกนี้อาจจัดซ้ำ และเปิดโอกาสให้องค์กรที่เรามีความสัมพันธ์ด้วยนั้นได้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นอย่างที่ต้องการ และช่วยให้ฟอนดาซิโอเน่ ปราด้า เข้ามามีบทบาทในการวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสตร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม"

"ดูแลสมอง" มีจุดสำคัญอยู่ที่การประชุมทางวิทยาศาสตร์วันที่ 6 และ 7 ตุลาคม 2565 ที่โรงภาพยนตร์ของฟอนดาซิโอเน่ ปราด้า ในมิลาน โดยวิทยากรจะพาสำรวจเรื่องโรคเสื่อมของระบบประสาทจากแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมและกลไกโมเลกุล การทดลองทางคลินิกและยาที่อาจมีศักยภาพใช้รักษา การประชุมดังกล่าวมีเป้าหมายอยู่ที่นักวิจัยและมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องในโปรเจกต์นี้ รวมถึงตัวแทนจากสถาบันชั้นนำในภาคสุขภาพ นอกจากนี้ ยังจะมีการสตรีมความเคลื่อนไหวในการประชุมให้ทุกคนได้เห็นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วย humanbrains.fondazioneprada.org

ส่วนนิทรรศการจะจัดขึ้นวันที่ 16 กันยายน ถึง 10 ตุลาคม 2565 บริเวณโพเดียม กลางอาคารฟอนดาซิโอเน่ ปราด้า สาขามิลาน นิทรรศการนี้มีสตูดิโอจากนิวยอร์กอย่าง 2x4 เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ โดยมีศูนย์วิจัยแต่ละแห่งเป็นผู้ดูแล และมีพื้นที่ส่วนกลางเพื่อสนับสนุนการหารือและแลกเปลี่ยนระหว่างสถาบันทั้ง 13 แห่ง พื้นที่แต่ละส่วนจะพาเจาะลึกเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยเจาะจงเรื่องโรคเสื่อมของระบบประสาท โดยนำเสนอผ่านวิดีโอ จัดแสดงผลงานและเครื่องมือทางเทคโนโลยี เอกสารทางวิทยาศาสตร์ และทัศนวัสดุต่าง ๆ

ตลอดการเปิดนิทรรศการ สถาบันทั้ง 13 แห่งที่อยู่ในโปรเจกต์นี้จะเปิดเวิร์กช็อปออนไลน์ให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมได้ที่ humanbrains.fondazioneprada.org โดยการประชุมแต่ละรายการจะประเมินแง่มุมเจาะจงในการเฟ้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการรักษาโรคเสื่อมของระบบประสาท

"ดูแลสมอง" ถือกำเนิดขึ้นจากความร่วมมือกับสถาบันและมหาวิทยาลัยที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในแวดวงประสาทวิทยาศาสตร์โลกรวม 13 แห่ง ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, โรงพยาบาลบริกแฮมและสตรี (Brigham and Women's Hospital), ศูนย์แอน รอมนีย์ เพื่อโรคระบบประสาท (Ann Romney Center for Neurological Diseases) เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา, แผนกประสาทวิทยาและสถาบันสมองปารีส โรงพยาบาลปิติเอ-ซัลเปตริแยร์ (Hopital de la Pitie-Salpetriere) มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส, มหาวิทยาลัยวิตา-ซาลูต ซาน ราฟฟาเอลเล (Universit? Vita-Salute San Raffaele) เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี, แผนกประสาทวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยจุนเทนโด กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น, สถาบันคาโรลินสกา (Karolinska Institutet) กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน, ศูนย์โรคเสื่อมของระบบประสาทเยอรมนี (DZNE) ในสังกัดสมาคมเฮ็ล์มโฮล์ท (Helmholtz Association) เมืองบ็อน ประเทศเยอรมนี, สถาบันประสาทชีววิทยามัคส์ พลังค์ (Max Planck Institute of Neurobiology) เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี, สถาบันวิจัยและการสอนแมคกิลล์ (McGill Research and Teaching Institute) โรงพยาบาลสถาบันระบบประสาทมอนทรีออล ประเทศแคนาดา, แผนกระบบประสาท โรงพยาบาลทั่วไปมหาวิทยาลัยแพทย์เทียนจิน เมืองเทียนจิน ประเทศจีน, สถาบันประสาทวิทยาศาสตร์ยูซีเอสเอฟ วีล (UCSF Weill Institute for Neuroscience) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร, สถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์มานน์ (Weizmann Institute of Science) เมืองเรโวฮอต ประเทศอิสราเอล และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล เมืองนิวเฮเวน ประเทศสหรัฐอเมริกา

สื่อมวลชนติดต่อ
ฝ่ายสื่อมวลชน ฟอนดาซิโอเน่ ปราด้า
อีเมล: PRESS@FONDAZIONEPRADA.ORG
+39 02 56 66 26 34

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1885561/Fondazione_Prada_Human_Brains.jpg
โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/1631439/Fondazione_Prada_Logo.jpg

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม