หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: WHO ชี้วัคซีนอย่างเดียวไม่อาจรับมือปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ  (อ่าน 26 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 29 ก.ค. 22, 09:27 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

องค์การอนามัยโลกชี้วัคซีนอย่างเดียวไม่อาจรับมือปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ต้องรักษาสุขอนามัยร่วมด้วย

สภาสุขอนามัยโลก ( Global Hygiene Council หรือ GHC) เรียกร้องให้ใช้แนวปฏิบัติทางสุขลักษณะ เช่น การล้างมือ ร่วมกับการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ และลดผลกระทบของการดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial resistance หรือ AMR)

รายงานที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่า วัคซีนคือ "เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการต่อสู้กับการดื้อยาต้านจุลชีพ" อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านการเงินและกระบวนการอนุมัติการพัฒนาวัคซีนยังคงเป็นอุปสรรคต่อการนำวัคซีนมาใช้อย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับวิกฤตการดื้อยาต้านจุลชีพ ดังนั้น ทางออกระยะสั้นในการป้องกันการดื้อยาต้องพุ่งเป้าไปที่วิธีการอื่นนอกเหนือจากวัคซีน ซึ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและการลงทุนในวิธีการอื่น ๆ รวมถึงการป้องกันการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ

สภาสุขอนามัยโลกตอบรับรายงานดังกล่าว และสนับสนุนการใช้แนวปฏิบัติทางสุขลักษณะร่วมกับการฉีดวัคซีนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อและลดผลกระทบของการดื้อยาต้านจุลชีพ โดยตลอดเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เห็นได้ชัดว่าสุขลักษณะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ พฤติกรรมที่ถูกสุขลักษณะ เช่น การล้างมือ สามารถลดความเสี่ยงของโรคติดต่อได้สูงสุดถึง 59% และป้องกันการเสียชีวิตได้ถึง 1 ล้านคนต่อปี ตลอดจนลดโอกาสเกิดแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพให้เหลือน้อยที่สุด

ทั้งนี้ มีการประกาศว่าการดื้อยาต้านจุลชีพเป็นหนึ่งใน 10 ภัยคุกคามด้านสาธารณสุขระดับโลกของมวลมนุษยชาติ โดยเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียและไวรัสเปลี่ยนแปลงไปจนดื้อยา ในแต่ละปี แบคทีเรียดื้อยาเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 5 ล้านคนทั่วโลก โดย 1.27 ล้านคนในจำนวนนี้เสียชีวิตเพราะการดื้อยาต้านจุลชีพโดยตรง

"นอกเหนือจากการฉีดวัคซีนแล้ว แนวปฏิบัติที่ถูกสุขลักษณะทั้งในบ้านและในชุมชน เช่น โรงเรียนและที่ทำงาน ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการป้องกันการติดเชื้อและลดการใช้ยาต้านจุลชีพ เช่น ยาปฏิชีวนะ ซึ่งหากใช้โดยขาดการพิจารณาก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการดื้อยาต้านจุลชีพ" ศาสตราจารย์ ซาบิฮา เอสแซ็ก (Sabiha Essack) จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งมหาวิทยาลัยควาซูลู-นาทาล (University of KwaZulu-Natal) ประเทศแอฟริกาใต้ ผู้ดำรงตำแหน่งโฆษกของสภาสุขอนามัยโลก กล่าว "การใช้แนวปฏิบัติทางสุขลักษณะที่เรียบง่ายในชีวิตประจำวันช่วยให้เราสามารถป้องกันการติดเชื้อ ลดการกินยาต้านจุลชีพ และลดแรงกดดันจากการใช้ยาต้านจุลชีพที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการและการแพร่ระบาดของแบคทีเรียดื้อยา"

สภาสุขอนามัยโลกขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้เพื่อลดภาระของการดื้อยาต้านจุลชีพที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการส่งเสริมบทบาทของสุขลักษณะร่วมกับวิธีการสำคัญอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการฉีดวัคซีน พร้อมกับสนับสนุนการใช้แนวปฏิบัติทางสุขลักษณะในระดับสากล โดยเฉพาะในที่ที่ความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญของสภาสุขอนามัยโลกได้ที่อีเมล: gabriel.jarvis@emotiveagency.co.uk หรือ โทร. +44(0)2081067899

สามารถติดต่อขอข้อมูลอ้างอิงได้

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม