เที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัยและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าเราจะเดินทางไปท่องเที่ยวสถานที่ใด ต่างก็มีระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ปฏิบัติตนร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่มีข้อทะเลาะเบาะแว้งเพราะต่างคนต่างมาจากคนละถิ่นฐาน เช่น ระเบียบเวลาการเข้า-ออกที่พัก, ข้อห้ามในการนำสัตว์เลี้ยงเข้าสถานที่นั้นๆ, ข้อควรปฏิบัติในการลงเล่นน้ำ รวมถึงมาตรการต่างๆ ที่ผู้ประกอบการ นำออกมาใช้โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ และการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
ไม่เพียงแต่สถานที่ท่องเที่ยวของเอกชนเท่านั้น สถานที่เที่ยวของรัฐบาลอย่างอุทยานแห่งชาติทั้ง 155 แห่งเช่นกันที่ออกกฏระเบียบสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ คุ้มครองและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสัตว์ป่า, ปะการัง และระบบนิวเศ รวมถึงเพื่อรักษาความสะอาดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ประกอบข้อ 6 ของระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2563 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟม และบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single- useplastics) ได้แก่ พลาสติกหูหิ้ว ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องบรรจุอาหารพลาสติกแก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) หลอดพลาสติก และช้อน- ส้อมพลาสติก เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
2. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 6 เม.ย.65 เป็นต้นไป
นอกเหนือจากประกาศดังกล่าว ก่อนหน้านี้ได้มีการมาตรการที่นำมาบังคับใช้กับบริษัทท่องเที่ยวที่ประกอบธุรกิจพานักท่องเที่ยวดำน้ำ ชมแนวปะการังใต้ทะเล คือ ห้ามนำเรือขนาดใหญ่ เข้ารับ-ส่งนักท่องเที่ยวที่จุดดำน้ำ ต้องขนถ่ายนักดำน้ำลงเรือเล็ก พร้อมส่งและรับที่จุดดำน้ำเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเอง อีกทั้งไม่เป็นการรบกวนสิ่งมีชีวิตตามแนวปะการังอีกด้วย ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด
100,000 บาท และเสนอเพิกถอนใบอนุญาตอีกด้วย
ดังนั้นเรื่องเหล่านี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่นักท่องเที่ยวที่ชอบเที่ยวแนวธรรมชาติ จะต้องรับทราบและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด เพราะหากมีการฝ่าฝืน กรมอุทยานฯ เอาจริง ปรับจริงแน่นอน