หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ดิจิทัลเรียกร้องความก้าวหน้า  (อ่าน 15 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 24 พ.ย. 21, 10:08 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ดิจิทัลเรียกร้องความก้าวหน้าในการรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล

ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกในด้านการประมวลผลข้อมูลและผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีครั้งสำคัญ รวมตัวกันเรียกร้องให้มีการผลักดันอย่างเร่งด่วนและการลงมือดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิของผู้คนในด้านนี้ ไม่ใช่มีเพียงคำพูดแสดงความตั้งใจ ทั้งนี้ ประกาศเรียกร้องดังกล่าวเกิดขึ้นในงาน "Humanism in the digital age: the urban contribution" (มนุษยศาสตร์ในยุคดิจิทัล: บทบาทในพื้นที่เมือง) ที่จัดโดย Digital Future Society ร่วมกับสภาเมืองบาร์เซโลนา ซึ่งมีองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วม 150 รายและวิทยากรจากนานาชาติระดับแนวหน้า 40 ท่าน โดยเสียงตอบรับในแง่บวกอย่างมากจากงานดังกล่าว ได้เสริมสร้างสถานะของบาร์เซโลนาในแง่เวทีอภิปรายระดับโลกด้านเทคโนโลยีที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง

Cristina Colom ผู้อำนวยการของ Digital Future Society กล่าวเปิดงานด้วยการสนับสนุนให้มีการลงมือทำ "เราจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญใหม่และให้ความสนใจกับความท้าทายเร่งด่วนทางสังคมบางประการมากขึ้น เพราะวิธีการที่เรารับมือกับความท้าทายเหล่านี้ วิธีการที่เราหาทางออก ตลอดจนวิธีการที่เราส่งเสริมความร่วมมือระดับนานาชาติจะเป็นสิ่งที่กำหนดอนาคตด้านดิจิทัล โดยเฉพาะอนาคตด้านดิจิทัลของพวกเรา"

นอกจากนั้นยังมี Carissa Veliz นักเขียนและนักปรัชญาประจำสถาบัน Institute for Ethics in AI แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งได้กล่าวเน้นย้ำเรื่องสิทธิด้านการคุ้มครองและควบคุมข้อมูล โดยชี้ว่า "เรื่องนี้มีประชาธิปไตยของเราเป็นเดิมพัน"

การบรรยายอีกรายการหนึ่งมุ่งเน้นเนื้อหาไปที่การใช้ข้อมูลในการต่อสู้กับการแบ่งแยกเชิงดิจิทัล โดยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีแห่งนครนิวยอร์ก John Paul Farmer เลือกแนวทางกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับการเข้าถึง, ความสามารถในการเชื่อมต่อ, โครงสร้างพื้นฐาน, และราคาที่ประหยัด เนื่องจาก "เทคโนโลยีมิใช่ความหรูหราฟุ่มเฟือย แต่คือสิ่งจำเป็น ความสามารถการเชื่อมต่อจำเป็นต้องครอบคลุมอย่างถ้วนหน้า" ทางด้าน Luc?a Velasco ผู้อำนวยการ ONTSI ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการติดขัดเชิงดิจิทัลที่มีมากขึ้นขึ้น โดยเน้นย้ำว่า "เราขอให้ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์กับฝ่ายบริหารด้านดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ประเภทใดและมีประสบการณ์หรือการเข้าถึงแบบใด"

Sonia Jorge กรรมการบริหาร Alliance for Affordable Internet มุ่งเน้นปัญหาการแบ่งแยกทางเพศโดยกล่าวว่า "โลกได้พลาดโอกาสมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์จากการกีดกันผู้หญิงออกจากสังคมดิจิทัล" ในขณะเดียวกัน N?ria Oliver จาก Data-Pop Alliance ก็ได้กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนผู้หญิงในสายอาชีพวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) โดยกล่าวว่า "สาขาวิชาใดก็ตามที่ขาดความหลากหลายจะไม่สามารถปลดล็อคศักยภาพอย่างเต็มที่ และการพัฒนาที่เกิดขึ้นก็จะไม่มีทางตอบสนองทุกกลุ่มคนได้อย่างสมบูรณ์"

ในแง่ของระบบรู้จำใบหน้าในพื้นที่เมือง Sarah Chander ที่ปรึกษาของ European Digital Rights Initiative กล่าวว่า "เราจำเป็นต้องเข้าใจความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ซึ่งจะได้รับผลกระทบ ว่าจะเป็นอย่างไรและด้วยเหตุใด" ในทำนองเดียวกัน Brando Benifei ผู้เสนอรายงานเรื่อง AI Act สนับสนุนให้สภายุโรป "ประกาศจุดยืนที่ชัดเจน" เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ ขณะที่กฎระเบียบในปัจจุบันยังคง "สามารถตีความได้คลุมเครือ" ในขณะเดียวกัน Amos Toh นักวิจัยจาก Human Rights Watch ก็ได้ชี้ถึงความจำเป็นในการ "ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจว่าเทคโนโลยีมีการออกแบบเช่นไรและมีข้อจำกัดอย่างไร"

ในแง่ของกฎระเบียบเกี่ยวกับ AI นั้น Werner Stengg สมาชิกคณะ Vice-President of the European Commission กล่าวว่า "AI ไม่ใช่ศัตรูของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเสมอไป" ขณะที่ Renata ?vila ซีอีโอ Open Knowledge Foundation เน้นย้ำว่า ความเป็นส่วนตัวควรจะ "เป็นค่าตั้งต้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เรายังต้องการคุณค่าอื่น ๆ อย่างเช่นนวัตกรรมที่เปิดกว้าง"

งานดังกล่าวปิดท้ายด้วยการบรรยายของ Carlos Grau ซีอีโอ Mobile World Capital Barcelona ซึ่งยึดมั่นใน "การทำงานร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้มีบทบาทสำคัญทุกฝ่าย"

สื่อมวลชนติดต่อ: Emily Henley ehenley@tinkle.es, +34 661 267 495

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1691840/Humanism_in_the_digital_age.jpg

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม