เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอเนื้อหาและโฆษณา คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม‘นโยบายคุกกี้’ และ ‘นโยบายความเป็นส่วนตัว’
เรื่องล่าสุดของหมวด
น้ำตกม่านฟ้าวังน้ำเขียวแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม
2 วัน 1 คืน เที่ยวเกาะหมากแบบ Low Carbon กินซาซิมิปลาย่ำสวาท ชมธรรมชาติทะเลตะวันออก
สิ้นสุดการรอคอย! วัดจุฬามณี ท้าวเวสสุวรรณ เตรียมกลับมาเปิดให้เที่ยวชม 1 มิ.ย. นี้
สวนนงนุชใจปล้ำ เปิดขายตั๋วเข้าชมแบบ 1 แถม 1 ตกคนละ 150 บาท เท่านั้น!
ตื่นตาปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ เหนือจุดชมกระทิงป่าเขาแผงม้า โคราช
เทศกาลขนหัวลุก อีเวนท์ท่องเที่ยวสุดหลอนจากททท. @โรงงานรถไฟมักกะสัน
ชื่นชมน้ำใจ! THE KALA SAMUI เปิดห้องพักให้ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนในราคาคืนละ 200 บาท
บ้านธารชีวี ที่พักและร้านกาแฟริมลำธารกลางป่า บ้านแม่แมะ เชียงดาว
Make Awake แคมป์ละมุน ที่สวนละไม จ.ระยอง
KATOB Chiang Dao ที่พักดีไซน์เท่กลางป่าเชียงดาว พักผ่อนให้ธรรมชาติโอบกอด
เที่ยวหัวหิน ที่เดียวจบ ครบทุกความสุข
Blackheath Bisto นนทบุรี บ้านขนมปังสุดวินเทจ
แม่ค้าทุเรียนสุดแซ่บ ไอเดียเก๋คิดค้นบัวลอยทุเรียนไข่ดาวไซซ์บึ้ม!
ป้าบุญคาเฟ่ ร้านอาหารมุมถ่ายรูปสวยสดชื่น เหมือนนั่งอยู่กลางป่าธรรมชาติ
ง่ายๆ ได้ทุกวัน ที่ Simply Cafe BKK ประชาชื่น
อัปเดต 9 ร้านทุเรียนเดลิเวอรีขายดีปี 2022 เอาใจชาวทุเรียนเลิฟเวอร์
7-11 เปิดจองทุเรียนพันธุ์กบชายน้ำ ราคาลูกละ 12,900 บาท!!!
ญี่ปุ่นประกาศเปิดประเทศ รับบริษัททัวร์แล้ว รวมประเทศไทยด้วย!
เปิดภาพ "กามธิปุระ" แหล่งค้าประเวณีชื่อดังของอินเดีย โลเคชันจากหนังคังคุไบ
ต้องไป! 5 ที่เที่ยว อียิปต์ อยากชวนคนฮิปไปเช็กอิน
5 สถานที่ ‘พักร้อน’ ที่ ‘หนาว’ ที่สุดในโลก
Air Asia เปิดขาย SUPER+ ตั๋วบินบุฟเฟต์ทั่วอาเซียนและในไทยในราคา 5,555 บาท!
เที่ยวเกาหลี ฤดูไหนดี กับ 4 ช่วงเวลาที่สนุกตรงใจสุดๆ
หน้า: 1
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
ในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละจังหวัด มักจะมีสถานทีที่สำคัญแตกต่างกันไป แต่วันนี้ บ้านบ้าน จะพามาส่องเมืองอุบลราชธานี และแนะนำสะพานแห่งหนึ่งซึ่งเป็นได้ชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงประชาธิปไตยใประเทศไทย นั่นก็คือสะพานเสรีประชาธิปไตย 2497สะพานเสรีประชาธิปไตย เริ่มการก่อสร้าง พ.ศ. 2496 ค่าก่อสร้างแปดล้านบาทเศษ จากงบประมาณแผ่นดิน โดยกรมโยธาเทศบาล (กรมโยธาธิการในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง สะพานกว้าง 9.00 เมตร ยาว 450.00 เมตร เป็นสะพานยาวที่สุดในประเทศไทยสมัยนั้น วิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างสะพานแห่งนี้ชื่อ คุณประสิทธิ์ สุทัศน์กุล บริษัท กำจรก่อสร้าง เป็นผู้รับเหมาสร้างสะพานนี้โครงสร้างของสะพาน ด้วยโครงสร้างของสะพานข้ามแม่น้ำมูล ที่ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2496 – 2497 ไม่มีโครงเหล็กยึดโยงเชื่อมกัน ตอม่อสะพานเป็นเพียงเสา 3 ต้น ตั้งห่างกันเป็นระยะไม่น่าจะรับน้ำหนักตัวสะพานได้ ส่วน "คาน" ของสะพาน แทนที่จะเป็นแท่งคอนกรีตทึบ หนักแน่นมั่นคง ก็เป็นแค่คอนกรีตโปร่งรูปเหลี่ยม ลักษณะเหมือนลูกกรงระเบียงมากกว่าที่จะเป็นคานรับน้ำหนักของสะพาน ทางเดินเท้าก็ไม่มีเสารับ ยื่นออกจากตัวสะพานลอย ๆ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำมูลแห่งนี้ เป็นลักษณะของสะพานข้ามคลองเล็กๆ มากกว่าจะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำสายสำคัญ เหตุดังกล่าวจึงทำให้ชาวอุบลราชธานีต่างวิตกกังวลและวิจารณ์กันโดยทั่วไป แม้จะได้รับการชี้แจงว่า โครงสร้างของสะพาน เป็นการออกแบบตามหลักวิชาการสมัยใหม่แล้วก็ตามสะพานแห่งนี้ ที่มีการวิตกวิจารณ์กันว่า น่าจะไม่มั่นคง แต่ก็ดำรงคงอยู่คู่เมืองอุบลฯ เป็นเวลา 36 ปี จึงหมดอายุการใช้งาน ผู้เขียน (สุวิชช คูณผล) ได้รับเชิญร่วมพิจารณาสร้างสะพานใหม่ แทนสะพานนี้เมื่อปี 2532 ที่กรมโยธาธิการ สะพานชื่อเดิมแต่สร้างใหม่ ณ สถานที่เดิม เปิดใช้ปี 2535 ซึ่งเป็นปีที่อุบลราชธานีอายุครบ 200 ปี คู่ขนานกับ "สะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี" จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่เตือนใจว่า สะพานเสรีประชาธิปโตยเดิม แม้จะหมดสภาพไปตามอายุขัย ก็มีสะพานเสรีประชาธิปไตยใหม่ ขึ้นมาแทนที่ และจะสถิตย์สถาพรตลอดไป เช่นเดียวกับ ระบอบประชาธิปไตย คู่กับประเทศไทย การเปิดใช้งาน เปิดใช้งาน และตั้งอยู่คู่เมืองอุบลราชธานีเป็นเวลา 36 ปี จึงเริ่มชำรุด และหมดอายุการใช้งาน ในปี พ.ศ. 2535 จึงได้มีการรื้อถอน และสร้างสะพานขึ้นใหม่ที่จุดตำแหน่งของสะพานเดิม โดยยังใช้ชื่อ สะพานเสรีประชาธิปไตย 2497 เช่นเดิม พร้อมทั้งสร้างสะพานใหม่อีกหนึ่งสะพานขนานทางด้านข้างทางทิศตะวันออก ตั้งชื่อว่า สะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี รวมมี 4 ช่องจราจร ได้กำหนดให้ช่องจราจรบนสะพานเสรีประชาธิปไตย 2497 เป็นช่องจราจรที่ใช้สำหรับเข้าเมืองอุบลราชธานี ส่วนช่องจราจรบนสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นช่องจราจรที่ใช้สำหรับออกจากเมืองอุบลราชธานีข้อแนะนำ : ล่องแม่น้ำมูล จากจุดเริ่มต้นมาบรรจบที่อุบลฯ แม้แต่ชื่อสะพานก็เป็น "สะพานเสรีประชาธิปโตย" การสร้างสะพานแห่งนี้ ดูเหมือนจะไม่มั่นคงแข็งแรง แต่ก็ดำรงคงอยู่คู่เมืองอุบลราชธานีเป็นเวลา 36 ปี จึงหมดอายุการใช้งาน จึงได้สร้างสะพานชื่อเดิมแต่สร้างใหม่ ณ สถานที่เดิม และสะพานแห่งนี้ยังเป็นตำนานที่มีความสำคัญทั้งในเรื่องของการคมนาคมไปมาของโซน และสื่อถึงความเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยสืบเนื่องต่อมาติดตามอัปเดท ข่าวสาร อสังหาฯ เพิ่มเติมได้ที่ : https://baanbaan.co/
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี