หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ผู้เชี่ยวชาญชี้ประเทศ G20 ยังต้องปรับปรุงการทำงานด้านความยั่งยืนของอาหาร  (อ่าน 50 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 14 ก.ค. 21, 13:34 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ประเทศผู้นำเศรษฐกิจโลกได้รับการประเมินด้านการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้ง, เกษตรกรรมแบบยั่งยืน และปัญหาด้านโภชนาการในการจัดทำดัชนี Food Sustainability Index (FSI)

คณะผู้จัดทำดัชนี Food Sustainability Index (FSI) หรือดัชนีความยั่งยืนทางอาหาร ระบุว่า ประเทศ G20 ต้องเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ด้วยการลดปริมาณการสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้ง ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพอาหารและเกษตรกรรม ก่อนจะถึงการประชุม UN Food Systems Summit

รายงานดัชนี FSI ที่จัดทำโดย Economist Intelligence Unit (EIU) ร่วมกับ Barilla Center for Food and Nutrition (BCFN) เปิดเผยว่า ประเทศส่วนใหญ่ยังต้องปรับปรุงการทำงาน โดยมีเพียงแคนาดาและญี่ปุ่นที่ทำผลงานได้ดีในระดับติดควอร์ไทล์บนในการประเมินทั้ง 3 ด้าน

ประเทศที่ทำผลงานได้ดีอื่นๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, อิตาลี และอังกฤษ ในขณะที่สหรัฐทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุดจากการบริโภคเนื้อเกินความจำเป็นอย่างมาก รวมถึงการเปลี่ยนพื้นที่มากมายเพื่อเกษตรกรรม

ทั้งนี้ อินโดนีเซียและซาอุดีอาระเบียทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุดเมื่อพิจารณารอบด้าน

"ประเทศ G20 เป็นเจ้าของผลผลิตทางเศรษฐกิจ 80% ของโลก และเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 75% ของโลก ซึ่งทำให้ประเทศเหล่านี้มีทั้งโอกาสอันดีและภาระรับผิดชอบที่จะต้องบุกเบิกหนทางสู่ความยั่งยืนทางอาหาร" Martin Koehring ผู้บริหารประจำภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) ฝ่ายความยั่งยืน ภาวะโลกร้อน และทรัพยากรธรรมชาติของ EIU

รายงานดัชนี FSI เผยให้เห็นถึงความคืบหน้าในการลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งที่ระดับ 931 ล้านตันต่อปี แต่กลับไม่มีประเทศใดในกลุ่ม G20 ที่เผยแพร่แนวทางการแก้ปัญหาการสูญเสียอาหาร หรือติดตามกลยุทธ์การลดอาหารเหลือทิ้ง

นอกจากนี้ ผู้จัดทำดัชนียังนำเสนอประเด็นเรื่องโภชนาการในสหรัฐ ที่โดยเฉลี่ยแล้วผู้บริโภคจะรับประทานเนื้อมากกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวันถึง 250 กรัม

รายงานกล่าวถึงหลักฐานที่บ่งชี้ว่า การปฏิบัติตามคำแนะนำด้านโภชนาการจากรัฐบาลนั้น ช่วยป้องกันการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ถึง 15% รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 13% โดยหยิบยกตัวอย่างจากแคมเปญ "Five a Day" ของประเทศอังกฤษที่สามารถเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ได้ถึง 10%

รายงานดัชนี FSI ระบุว่า ทุกประเทศในกลุ่ม G20 มีคำแนะนำด้านการโภชนาการ แต่มีเพียง 4 ประเทศเท่านั้นที่กำหนดให้ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของโภชนาการที่ดี แม้ว่าจะมี 13 ประเทศที่ตั้งเป้าหมายดำเนินการไว้ชัดเจนในการรับมือกับภาวะโลกร้อน แต่มีเพียงอินโดนีเซียและแคนาดาที่คำนึงถึงภาคเกษตรกรรมในการพัฒนาแผนด้วย

"เรารู้ว่าระบบอาหารที่ยั่งยืนนั้นเป็นส่วนสำคัญของวิถีทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามวาระการพัฒนาปี 2573 ของสหประชาชาติ ผู้นำประเทศ G20 มีอำนาจในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต่อระบบอาหาร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระดับโลกของเราในการแก้ปัญหาความหิวโหยและความยากจน รวมถึงรับมือกับภาวะโลกร้อน" ดร. Marta Antonelli หัวหน้าทีมวิจัย BCFN กล่าว

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม