หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: 5 เคล็ดลับกับการรับมือกฎหมาย pdpa เมื่อมีผลบังคับใช้  (อ่าน 31 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 26 มิ.ย. 21, 19:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
          กฎหมาย pdpa คือ กฎหมายที่ว่าด้วยการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิส่วนบุคคล ตั้งแต่ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่หรือข้อมูลอื่นใดที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ทันที เจตนาของกฎหมายคือ หากเจ้าของข้อมูลไม่ได้ให้ความยินยอม บุคคลอื่นก็ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อหาประโยชน์ทางใดทางหนึ่งได้ ไม่เช่นนั้นจะต้องได้รับโทษตามกฎหมายซึ่งมีตั้งแต่โทษทางแพ่งคือชดเชยค่าเสียหายไปจนถึงโทษทางอาญาคือการจำคุกสูงสุด 1 ปี ในขณะที่ผู้ประกอบการจะดำเนินธุรกิจได้ก็จำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือคู่ค้าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การยิงโฆษณาให้ตรงกับความต้องการของแต่ละคนเพื่อกระตุ้นยอดขาย ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงยิ่งต้องใส่ใจต่อ pdpa เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดความเสียหายตามมาในภายหลัง ซึ่งมีเคล็ดลับดังนี้

1.   มีการวางแผนจัดการข้อมูลอย่างรัดกุม ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่การขอรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ว่าจะเป็นเอกสารกระดาษหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ก็ต้องมีการชี้แจงต่อเจ้าของข้อมูลว่าจะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด รวมถึงแจ้งวิธีการในการจัดเก็บที่จะไม่ทำให้ข้อมูลรั่วไหลไปยังภายนอกด้วยเช่น การเก็บเอกสารในคลังเอกสารที่มีระบบการเข้าถึงอย่างรัดกุมหรือการเข้าถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีรหัสผ่านที่ซับซ้อนเป็นต้น

2.   การได้รับความยินยอมอย่างถูกต้อง และโปร่งใส หมายความว่าการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องกระทำไปด้วยเจตนาบริสุทธิ์ที่สามารถตรวจสอบได้ ไม่มีขั้นตอนหรือรูปแบบที่ซ่อนเร้นหรืออำพรางที่หากเมื่อถูกตรวจสอบแล้วพบว่าผิดวัตถุประสงค์หรือเข้าข่ายผิดกฎหมายจะต้องถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายกำหนด

3.   การชี้แจงและเขียนนโยบายที่เข้าใจง่าย ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงเป็นไปได้ว่าผู้ขอข้อมูลจะมีกระบวนการชี้แจงนโยบายในการรวบรวมข้อมูลที่เข้าใจได้ยากหรือทำให้เจ้าของข้อมูลเกิดความสับสนจนยินยอมให้ข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นผู้ประกอบการไม่สามารถชี้แจงและเขียนนโยบายด้วยภาษากฎหมายหรือภาษาเฉพาะที่ทำให้เจ้าของข้อมูลสับสนหรือเข้าใจยาก

4.   บอกรายละเอียดเกี่ยวกับการนำข้อมูลไปใช้ให้ครบถ้วน สำหรับเคล็ดลับข้อนี้คือเพียงแค่การแจกแจงรายละเอียดต่อเจ้าของข้อมูลว่าจะมีการนำข้อมูลส่วนใดไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดหรือให้ประโยชน์ใดต่อเจ้าของข้อมูลอย่างชัดเจนและครบถ้วน ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย เพียงเท่านี้กระบวนการได้รับความยินยอมก็จะมีความโปร่งใส

5.   ผู้ใช้งานต้องสามารถเข้าถึงการยกเลิกได้อย่าง Real Time ความหมายคือผู้ประกอบการต้องมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้เจ้าของข้อมูลสามารถยกเลิกการยินยอมได้ตลอดเวลา และการเข้าถึงกระบวนการยกเลิกต้องทำได้ง่ายด้วยเช่นกัน

          สรุปได้ว่าเมื่อ pdpa มีผลบังคับใช้ ข้อมูลที่ผู้ประกอบการมีอยู่เดิมยิ่งไม่สามารถนำไปใช้ดำเนินธุรกิจต่อเนื่องได้ทันที โดยข้อมูลทั้งหมดจะต้องถูกนำมาเข้าระบบเพื่อขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล รวมถึงมีการเก็บหลักฐานการให้ความยินยอมไว้อย่างชัดเจนและตรวจสอบได้ ผู้ประกอบการจึงสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
   
ที่มาข้อมูล
-   https://www.mfec.co.th/th/tech-talk/pdpa-ep1/
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม