การจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า สามารถประสบความสำเร็จได้มากหรือน้อยเพียงใด ทั้งหมดก็ล้วนขึ้นอยู่กับ “ชื่อ” ที่ตัดสินใจเลือกนำมาใช้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ว่ามันมีลักษณะที่บ่งบอกเฉพาะตัวมากน้อยแค่ไหน
1.พยายามใช้คำหรือข้อความที่คิดค้นขึ้นเอง มาตั้งเป็นเครื่องหมายการค้า เอาสองคำมาผสมกัน จนเป็นคำใหม่ที่ไม่มีความมาย เช่น
เครื่องหมายการค้า ชื่อ “Jewelux” ที่ใช้กับอัญมณี ซึ่งมาจากการผสมคำว่า Jewel (เพชรพลอย) และคำว่า Luxury (หรูหรา) เข้าด้วยกัน จนเป็นคำใหม่ จัดเป็นคำประดิษฐ์ที่ใช้จดทะเบียนได้
หรือประดิษฐ์คำใหม่ขึ้นทั้งหมดก็ได้ เช่น
เครื่องหมายการค้า “Gertos” ที่ใช้กับยาฆ่า
เชื้อโรค ทั้งนี้ หากเขียนเลียนเสียงคำที่บอกถึงคุณสมบัติ หรือลักษณะของสินค้าบางคำ ไม่จัดเป็นคำประดิษฐ์ เช่น คำว่า “Klean" ที่เขียนขึ้นโดยเลียนเสียงคำว่า “Clean” แปลว่าสะอาด รวมถึงเติมเครื่องหมายยติภังค์ ( - ) ลงไประหว่างกลาง เช่น “fresh-up” หากนำมาใช้กับสินค้าเครื่องดื่ม ไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์
หรือคำที่เชิญชวนให้ผู้คนเกิดจินตนาการกับสินค้า เช่น คำว่า “Disturbance
Palace ” แปลว่าพระราชวังของสิ่งที่ชอบรบกวน ที่นำมาใช้กับสินค้าประกับดักแมลงที่สร้างความรำคาญ ซึ่งคำแบบนี้สามารถนำมาใช้จดทะเบียนได้
2.ไม่ควรใช้คำสามัญทั่วไปมาตั้งเป็นเครื่องหมายการค้า เช่น คำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบางอย่าง ที่ผู้ประกอบการรายอื่นนำมาใช้ตั้งเป็นเครื่องหมายการค้า หรือคำสามัญที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการค้าทั่วไปอยู่แล้ว คำประเภทนี้ หากนำไปจดจะเบียน อาจไม่ได้รับการจดทะเบียน หรืออาจถูกสละสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้คำดังกล่าว
หมายความว่าเจ้าของที่จดชื่อเครื่องหมายทางการค้ากับเว็บ
https://idgthailand.com/เครื่องหมายการค้า/หรือจดจากที่อื่นก็ตาม ไม่มีสิทธิห้ามให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ ซึ่งคำสามัญที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าบางอย่างจะนำมาใช้จดทะเบียน โดยถือสิทธิในคำนั้น ๆ แต่เพียงผู้เดียวไม่ได้
เช่นคำว่า “Gel (เจล)” หากใช้กับเครื่องสำอางจะเป็นคำสามัญ เพราะเครื่องสำอางบางชนิดเป็นเจล อย่างคำว่า “Axe Gel” เมื่อใช้กับครีมโกนหนวด อาจจดทะเบียนได้ แต่ต้องสละสิทธิที่จะไม่ขอถือสิทธิในการใช้คำว่า Gel